กระหึ่ม! ตัวแทนซอฟต์แวร์ และดิจิทัลคอนเทนต์ไทย กวาด 7 รางวัล ในการแข่งขัน “ASEAN ICT Awards 2017” รอบสุดท้าย ณ ประเทศกัมพูชา

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday December 12, 2017 10:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เดินหน้าเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ในการคัดเลือก เฟ้นหาผลงานด้านซอฟต์แวร์ และดิจิทัลคอนเทนต์ในระดับคุณภาพคับแก้ว เข้าร่วมการแข่งขันรางวัล "ASEAN ICT Awards 2017" ในนามตัวแทนประเทศไทย สู่การตัดสินรอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 ณ ประเทศกัมพูชา ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบรางวัล และถ่ายภาพร่วมกับทีมผู้เข้าแข่งขัน โดยในงานนี้ ตัวแทนซอฟต์แวร์ และดิจิทัลคอนเทนต์จากประเทศไทยโชว์ผลงานกระหึ่มเวทีอาเซียน คว้ามาได้ทั้งหมด 7 รางวัลด้วยกัน ดังนี้ รางวัล Gold Award จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ บริษัท โปร-ทอยส์ จำกัด กับผลงาน "MATRIX REPLAY" ในหมวด Digital Content ผู้พัฒนาระบบ REPLAY สำหรับวงการถ่ายทอดสดในวงการกีฬา โดยใช้วิธีการ REPLAY ในรูปแบบ Slow Motion ผ่านมุมมอง 360 องศาเหมือนในภาพยนตร์ The MATRIX ซึ่งจุดเด่นอยู่ที่การทำ Multi-Camera Control เพื่อสร้าง World Class Special Effect อาทิ Bullet Time, VR 360, 3D และ การทำ Avatar รางวัล Silver Award จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด กับผลงาน "Corrupt" ในหมวด Digital Content "Corrupt" เป็นเกมเพื่อการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันเกมแรกของโลก โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ปัญหาคอร์รัปชันสำหรับเยาวชน ผ่านเนื่อเรื่องเกมที่พัฒนาขึ้นมาจากกรณีศึกษาการ คอร์รัปชันจริงในประเทศไทย มีผู้เล่นมากกว่า 80,000 คน และสามารถนำข้อมูลการเล่นในเกมมาพัฒนาตัวชี้วัดทัศนคติต่อปัญหา คอร์รัปชันส่วนบุคคล อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ถึงปัญหาคอร์รัปชันได้เป็นอย่างดี บริษัท อิลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กับผลงาน "RECALL" ในหมวด Research and Development (R&D) "Recall" คือ บริการ AR Code ในรูปแบบ Cloud ที่เหมาะสมกับสภาพการตลาดปัจจุบัน ที่นิยม AR Code แต่ด้วยความต้องการที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ดูสถิติการเข้าถึงของลูกค้า เป็นเรื่องจำเป็น ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากกว่า 5 ปี ของบริษัท อิลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในการเป็นผู้พัฒนาเนื้อหาใน AR Code รางวัล Bronze Award จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ บริษัท บลูโอเชี่ยน เทคโนโลยี จำกัด กับผลงาน "VR Real. Estate-Virtual Reality Platform For Real Estate Industry" ในหมวด Startup Company VR Real.Estate เป็นระบบเทคโนโลยีความจริงเสมือนสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยนำเทคโนโลยี VR (Virtual Reality) มาประยุกต์ใช้ให้ผู้ซื้อบ้านสามารถเห็นและเข้าไปเดินดูรายละเอียดต่างๆ ภายในบ้าน คอนโดฯ ได้เสมือนอยู่ในสถานที่จริง ใช้งานง่ายและมีความสมจริง ผู้ใช้งานสามารถสวมแว่นและเคลื่อนที่ในโลกเสมือนจริงได้ด้วยการเดิน และหยิบจับสิ่งของในโลกเสมือนจริง ในมุมของผู้ขายนั้น เป็นเครื่องมือใหม่ที่สามารถช่วยให้ทำการขายได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ฉีกกรอบเดิมๆ จากโบร์ชัวร์ โมเดลพลาสติก บริษัท นิปปอน ไซซิสท์ จำกัด กับผลงาน "Xentrack" ในหมวด Research and Development (R&D) "Xentrack" เป็นอุปกรณ์ IoT ที่ส่งสัญญาณกันด้วย Bluetooth และส่งเข้า Server ด้วย Wi-Fi เพื่อใช้ในการ Tracking ภายในอาคาร ไม่ว่าจะใช้กับ บุคคล หรือทรัพย์สินต่างๆ โดยผู้ใช้งานสามารถดูผ่านเว็บไซต์ได้แบบ Real Time รวมถึงการแจ้งเตือนต่างๆ ผ่านทาง Line โดยมุ่งเน้นการ Tracking และขยายผลไปยังการจัดการขนส่งภายในโรงพยาบาลแบบครบวงจร บริษัท ไนท์เทค จำกัด กับผลงาน "Smart PHR" ในหมวด Public Sector "Smart PHR" คือ Mobile Application ที่ใช้เครื่อง Smart Device ในการเข้าถึงระบบ ระเบียบสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Record PHR) เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนด้านบริการระบบสุขภาพส่วนบุคคลให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และจัดการปัญหาด้านสุขภาวะของโรคที่เกิดในพื้นที่ โดยใช้การเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน PHR API ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มีกลุ่มเป้าหมายใน 5 จังหวัดนำร่งที่ลงทะเบียนใช้งานระบบ PHR อยู่แล้ว คือ นครนายก ภูเก็ต ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี และเพชรบูรณ์ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด กับผลงาน "PODD-Participator Onehealth Disease Detection" ในหมวด Corporate Social Responsible (CSR) "PODD (Participatory One health Disease Detection)" เป็นระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีที่ช่วยชุมชนเฝ้าระวังโรค และหยุดยั้งเหตุก่อนการระบาดจะเกิดขึ้น ปัจจุบันทำงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และหยุดยั้งการระบาดได้มากกว่า 30 ครั้ง รวมทั้งป้องกันความเสียหายได้หลายกว่าร้อยล้านบาท "ASEAN ICT Awards" เป็นโครงการภายใต้การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (TELSOM) และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (TELMIN) ประจำปี 2560 ที่ประเทศกัมพูชา กับแนวคิดในการเปิดโอกาส และเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้ส่งผลงานของตนเองเข้าประกวดในเวทีระดับอาเซียน เพื่อส่งเสริมพัฒนาและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้32เพื่อเพิ่มรายได้32และมูลค่าของผลิตภัณฑ์32ให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับประเทศ32และต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งรางวัล ASEAN ICT Awards จะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทาง ศักยภาพ และความสามารถของผู้ประกอบการ ICT ไทยในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงบทบาทของภาค ICT ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอาเซียน ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ ASEAN ICT Awards ได้ที่ http://www.depa.or.th หรือ http://www.aseanictaward.com/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ