9101 กระตุ้น ศก. กว่า 5หมื่น 4พัน ลบ. ยก 'ฟาร์มชุมชน’ อีกหนึ่งกิจกรรมสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Tuesday December 19, 2017 11:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สศก.เปิดผลวิเคราะห์การดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า 54,040 ล้านบาท ผ่านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ครัวเรือนเผย กิจกรรมด้านฟาร์มชุมชนช่วยลดค่าครองชีพและสร้างรายได้หมุนเวียนให้เกษตรกรในชุมชนต่อเนื่องเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมยั่งยืนที่ กษ. ควรส่งเสริม นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนและเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและชุมชน ด้วยการน้อมนำหลักการ ทฤษฎีและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานไว้มาส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในชุมชน โดยกำหนดเป้าหมายพื้นที่ 9,101 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนใน ศพก. หลัก 882 แห่ง และเครือข่าย 8,219 แห่งและคัดเลือกเกษตรกรชุมชนละ 500 ราย รวม 4,550,500 รายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 22,895 ล้านบาท ในการนี้ สศก. ได้วิเคราะห์ผลลัพธ์ของโครงการในการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ พันธุ์พืช/สัตว์ และค่าจ้างแรงงานของโครงการ พบว่า โครงการมีการใช้จ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 19,366.49 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ฯ จำนวน9,659.54 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นการจัดซื้อวัสดุสำคัญสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการทำการผลิต เช่น มูลสัตว์ เศษพืช เศษผัก หญ้าแฝก ไม้ และผลไม้ โดยหาซื้อจากภายในชุมชนเองหรือชุมชนใกล้เคียง ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะส่งต่อเศรษฐกิจชุมชนสองทางด้วยกัน คือรายได้จากการจำหน่ายวัสดุในท้องถิ่นจะถูกนำไปจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันจากร้านค้าในชุมชน และรายได้จากการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชนและพื้นที่ใกล้ จากการนำวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ พันธุ์พืช/สัตว์ ไปใช้ทำการผลิต ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชนคิดเป็นมูลค่า21,451 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าจ้างแรงงาน9,706.95 ล้านบาท ซึ่งจ้างเกษตรกรในชุมชนมาทำงานในโครงการได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชนผ่านการนำรายได้จากค่าจ้างมาใช้จ่ายบริโภคสินค้าในชีวิตประจำวันจากร้านค้าภายในชุมชนและใกล้เคียง เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม ผลไม้ ยานพาหนะและเชื้อเพลิงก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชนคิดเป็นมูลค่าสูงถึง32,589 ล้านบาท สรุปโครงการ 9101 ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชนคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น54,040 ล้านบาท นอกจากนี้ ภายในโครงการ 9101 ยังมีกิจกรรมฟาร์มชุมชนซึ่งเป็นการจัดทำแปลงและโรงเรือนเพาะปลูกรอบ ๆ แหล่งน้ำในโครงการทั้งการปลูกพืชและไม้ผล เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ข้าวโพด พริก มะเขือ น้อยหน่า ฝรั่ง กล้วย การเลี้ยง ปศุสัตว์ เช่น ไก่ไข่และเป็ดไข่ การประมง เช่น การเลี้ยงปลาดุก ปลานิลและกบ การจัดสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้าและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การแปรรูปสินค้าเกษตรและการจัดให้มีร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของฟาร์ม ซึ่งฟาร์มชุมชนนี้ได้ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีและการร่วมไม้ร่วมมือกันระหว่างเกษตรกร ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาคีที่รับผิดชอบ ผ่านการการรวมกลุ่มและร่วมกันจัดทำแผนการบริหารจัดการฟาร์มทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาดซึ่งฟาร์มชุมชนยังก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนแก่เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เกษตรกรในโครงการยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในพื้นที่ของตนเองได้อีกด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการดำเนินการของโครงการ 9101 หน่วย : ล้านบาท กิจกรรมของโครงการ ค่าใช้จ่ายในพื้นที่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของผลผลิต การขยายตัวของงรายได้ รวม และการใช้จ่ายครัวเรือน 1. ด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช 3,114.11 3,205 5,357 8,562 2. ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 10,337.64 11,444 17,774 29,218 3. ด้านจัดการศัตรูพืช 236.52 225 416 641 4. ด้านฟาร์มชุมชน 919.66 1,024 1,502 2,526 5. ด้านการผลิตอาหาร/แปรรูป 1,190.44 1,358 1,952 3,310 6. ด้านปศุสตว์ 1,995.15 2,528 3,044 5,572 7. ด้านประมง 1,346.53 1,448 2,157 3,605 8. ด้านการปรับปรุงบำรุงดิน 220.44 219 388 607 รวม 19,366.49 21,451 32,589 54,040 ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โครงการ 9101 เป็นกิจกรรมที่ดีของ กษ. ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรตรงตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ โครงการ 9101 ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชนสูงถึง 2.8 เท่าของงบประมาณโครงการ ดังนั้น หากในอนาคตรัฐบาลจะมีนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอีกควรเน้นการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและจะต้องเป็นรูปแบบที่มีกิจกรรมการผลิตที่ต่อเนื่อง เกษตรกรสามารถพัฒนาต่อยอดได้เองช่วยลดค่าครองชีพให้กับเกษตรกรและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างเพียงพอจนสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เช่น กิจกรรมฟาร์มชุมชน
แท็ก เกษตรกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ