สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 5-9 มี.ค. 61 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 12-16 มี.ค. 61 โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 12, 2018 16:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--ปตท. ราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงทุกชนิด โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 64.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 61.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 1.35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 61.21เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 1.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 75.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซล ลดลง 1.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 76.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ - บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (National Oil Corp: NOC) รายงานแหล่งน้ำมัน Sharara (ปริมาณการผลิต 340,000 บาร์เรลต่อวัน) กลับมาผลิตน้ำมันดิบในวันที่ 5 มี.ค. 61 ที่ระดับ 300,000 บาร์เรลต่อวัน หลังจากประกาศเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) การส่งมอบน้ำมันดิบจากแหล่งดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 61 หลังผู้ประท้วงปิดวาล์วท่อขนส่งน้ำมัน อนึ่งก่อนการประท้วงแหล่ง Sharara ผลิตอยู่ที่ระดับ 308,000 บาร์เรลต่อวัน - รายงานฉบับเดือน มี.ค. 61 ของ Energy Information Administration (EIA) คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐ ปี พ.ศ. 2561 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.38 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 10.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ในเดือนก่อนซึ่งประเมินว่าจะอยู่ที่ 10.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน - EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 425.9 ล้านบาร์เรล อย่างไรดีปริมาณสำรองที่ Cushing รัฐ Oklahoma ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 11 มาอยู่ที่ 28.2 ล้านบาร์เรล ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี - วันที่ 8 มี.ค 61ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump ลงนามในประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 25 % และอลูมิเนียม 10 % มีผลบังคับภายใน 15 วัน พื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโลหะภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกหากเกิดสงครามการค้า - CFTC รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มี.ค. 61 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะถือครองสุทธิ (Net Long Position) ลดลง จากสัปดาห์ก่อน 17,166 สัญญา มาอยู่ที่ 478,531สัญญา - ICE รายงานสถานะการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ Brent ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มี.ค. 61 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับ Net Long Position ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4,588 สัญญา มาอยู่ที่ 539,784 สัญญา ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก - รายงาน Medium Term Report ของ International Energy Agency (IEA) คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลก ปี พ.ศ. 2560-2566 เติบโตเฉลี่ย 6.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 1.1% ต่อปี ทั้งนี้ IEA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกปี พ.ศ. 2561เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 100.20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่อุปสงค์น้ำมันโลกจะเพิ่มสู่ระดับ 104.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี พ.ศ. 2566 - การพบปะระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ OPEC และผู้ผลิต Shale Oil ของสหรัฐฯ ระหว่างการประชุม CERAweek ที่เมือง Houston ในวันที่ 5 มี.ค. 61 ไม่มีข้อสรุปใดเกี่ยวกับปริมาณการผลิต Shale Oil เนื่องจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ในเชิงปฏิบัติ เพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันการผูกขาด หรือAntitrust Law - Baker Hughes Inc. บริษัทลูกของ General Electric Co. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะ (Rig) น้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 มี.ค. 61 ลดลง 4 แท่น มาอยู่ที่ 796 แท่น ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดวันศุกร์ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังสถิติการจ้างงานในสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 61 แข็งแกร่ง ทั้งนี้ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและดัชนีตลาดหุ้น ปรับตัวในทิศทางสอดคล้องกัน เนื่องจากนักลงทุนมองสภาพเศรษฐกิจพื้นฐานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จะสนับสนุนความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตปิโตรเลียมในสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชะลอการผลิต โดยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน สัปดาห์ล่าสุด ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ อีกทั้งตลาดรับกระแสข่าวแผนการพบปะระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump และผู้นำเกาหลีเหนือ นาย Kim Jong Un ครั้งแรกของทั้งคู่ ในเดือน พ.ค. 61 เป็นปัจจัยสนับสนุน เนื่องจากลดความตึงเครียดทางการเมืองโลก แม้ว่าคณะทีปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ บางส่วน เห็นว่าการตอบตกลงพบปะ ขณะที่ยังไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับการลดขีปนาวุธจากเกาหลีเหนืออย่างเป็นรูปธรรม อาจทำให้ฐานะในการเจรจาของสหรัฐฯ ไม่ได้เปรียบ และไม่บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันดิบอิหร่านจากเอเชียชะลอตัว โดยในเดือน ก.พ. 61 ลดลงกว่า 1/3 สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย. 58 อยู่ที่ 1.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากญี่ปุ่นหยุดนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่าน เป็นครั้งแรกตั้งแต่ มี.ค. 59 ให้จับตามองการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 20-21 มี.ค. 61 ซึ่งนักลงทุนคาดว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนใหม่ นาย Jerome Powell จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในปีนี้ เพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และการประชุมกลุ่ม OPEC ในเดือน มิ.ย. 61 ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันอิหร่าน นาย Bijan Zanganeh เห็นว่าควรเริ่มวางแผนกลยุทธ์ เพื่อหยุดความร่วมมือในการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ (Exit Strategy) ที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2561 นี้ ปัจจุบันอิหร่านผลิตอยู่ที่ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามโควตาที่ตกลงกับกลุ่ม OPEC แม้จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 100,000 บาร์เรลต่อวัน ก็ตาม ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 63.0-68.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 59.5-64.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 59.0-64.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินสัปดาห์ก่อนลดลงจากโรงกลั่นร่วมทุนระหว่างอินเดียและโอมานมีแผนเพิ่มกำลังการกลั่นมาอยู่ที่ 156,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-62 และมีแผนขยายเพิ่มเติมสู่ระดับ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568 ด้านปริมาณสำรอง International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.55 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 14.58 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 เดือน และ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่ญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 210,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 10.57 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามมีแรงซื้อน้ำมันเบนซินจากประเทศเอเชียใต้ อาทิ Hindustan Petroleum Corp. Ltd. (HPCL) ของอินเดียออกประมูลซื้อน้ำมันเบนซิน 91 RON ปริมาณ 4.6 ล้านบาร์เรล และ น้ำมันเบนซิน 95 RON ปริมาณ 2.6 ล้านบาร์เรล แบบสัญญาเทอม ส่งมอบ พ.ค. 61-เม.ย. 62 ประกอบกับโรงกลั่น Salina Cruz (กำลังการกลั่น 330,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ Pemex ในเม็กซิโกกลับมาเดินเครื่องที่ระดับ 150,000 บาร์เรลต่อวัน หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อ เดือน ก.ย. 60 ซึ่งบริษัทประเมินว่าการซ่อมแซมจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 61 เพราะเกิดอุปสรรคจากเหตุแผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Aftershock) ที่เกิดขึ้นตามมาหลายระลอก สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 73.0-78.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลสัปดาห์ก่อนลดลงโดย Arbitrage น้ำมันดีเซลจากภูมิภาคตะวันออกไปตะวันตกปิด และปริมาณสำรอง IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 410,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 9.33 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ประกอบกับPAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่ญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 480,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 7.97 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันดีเซล 0.005 % S เพื่อทำความอบอุ่น ในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ อาทิ เยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ แข็งแกร่ง เพราะสภาพอากาศหนาวเย็น และ Petroleum Bulk Procurement Agency ของแทนซาเนียออกประมูลซื้อ น้ำมันดีเซล 0.005%ฆ ปริมาณ 1.82 ล้านบาร์เรล ส่งมอบ เม.ย. 61 และบริษัท PetroSAของแอฟริกาใต้ ออกประมูลซื้อน้ำมันดีเซล 0.005%S จำนวน 3 เที่ยวเรือๆ ละ 125,000 บาร์เรล ส่งมอบวันที่ 1-3 พ.ค., 1-3 มิ.ย., และ 1-3 ก.ค. 61 ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 73.5-78.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ