เด็กไทยสุดเจ๋ง! คว้ารางวัลใหญ่ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก Intel ISEF 2018

ข่าวทั่วไป Monday May 21, 2018 16:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--NECTEC ตัวแทนเยาวชนไทยคว้ารางวัลใหญ่จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก The Intel International Science and Engineering Fair 2018 (Intel ISEF ครั้งที่ 69) โดยมีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เข้าร่วมโครงการกว่า 81 ประเทศมาร่วมแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 – 18 พฤษภาคม 2561 ณ เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เยาวชนไทยจากโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Young Scientist Competition (YSC 2018) จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คว้ารางวัล USAID 2018 Science for Development, First Place Award ในสาขา Humanitarian Assistance and Disaster Mitigation ในงาน Intel ISEF 2018 ที่สหรัฐอเมริกา รางวัลที่ 1 สาขาการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย : ชื่อโครงงาน นวัตกรรมอนุรักษ์ป่าชุ่มน้ำจากเนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่ ชื่อโครงงาน (อังกฤษ) Innovative Conservation of Wetland Resources with Rhizophora mucronata Nursery ผู้พัฒนา นายกษิดิ์เดช สุขไกว นายพัทธดนย์ นามวงค์เนาว์ นางสาวชิดชนก อินทร์แก้ว อาจารย์ที่ปรึกษา นางสุวารี พงศ์ธีระวรรณ นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ โรงเรียน สุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี นางสาวชิดชนก อินทร์แก้วได้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงงานชิ้นนี้ว่า "ทุกครั้งที่มาร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลนที่ทางโรงเรียนจัดให้ สังเกตว่าทำไมต้องไปปลูกป่าในที่เดิมๆ เสมอ แล้วมารู้ทีหลังว่าต้นที่ตัวเองปลูกนั้นตายไปแล้ว แต่เพราะอะไร ทำไม เป็นโจทย์ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมทำให้รู้ว่า ต้นโกงกางโตช้าและปรับตัวยากต่อสภาพแวดล้อมทำให้มีโอกาสรอดได้ยาก จึงเกิดเนอสเซอรีโกงกางขึ้นในเวลาต่อมา โดยตัวเนอสเซอรี่จะเป็นรูปทรงกรวยคว่ำใส่ไว้ที่ต้นโกงกางเมื่อต้นโกงกางโตขึ้น เนอสเซอรรีจะค่อยๆ ย่อยสลายไปเองเพราะทำจากกระดาษ" นอกจากนี้น้องๆ ยังได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมก่อนไปแข่งว่า มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนโครงการบ้างแล้ว "มีการหาทฤษฎีเพิ่มเติมและตรวจวัดประสิทธิภาพของงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเวลาตรวจวัดจะไปทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพราะมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ที่นั่น" และการเตรียมตัวนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษนั่นน้อง ๆ กล่าวว่ามีความมั่นใจในระดับหนึ่ง เพราะได้อ่านบทความภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ทำให้รู้ศัพท์เฉพาะมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ตอนตอบคำถามกรรมการได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เยาวชนไทยจากการคัดเลือกเป็นตัวแทนของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังคว้ารางวัล USAID 2018 Science for Development, Second Place Award ในสาขา Humanitarian Assistance and Disaster Mitigation เช่นกัน รางวัลที่ 2 สาขาการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย ชื่อโครงงาน ระบบเครือข่ายเซนเซอร์สื่อสารไร้สาย เพื่อการแจ้งเตือนไฟป่า และการลักลอบตัดไม้ ผู้พัฒนา นายญาณภัทร นิคมรักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษา นายธีระวุฒิ จันทะพันธ์ โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร และอีก 1 รางวัลจาก Sigma Xi Society รางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 2,000 เหรียญ ในฐานะโครงงานประเทศทีม (Best Example of Team Science) ชื่อโครงงาน: การศึกษาสมการเชิงขั้วของการกระจายตัวของน้ำจากหัวสปริงเกอร์ชนิดใบพัดแบบต่างๆ ผู้พัฒนา นายอดิศร ขันทอง น.ส.วิชยา เนตรมนต์ประภา น.ส.กุลณัฐ บูรณารมย์ อาจารย์ที่ปรึกษา นายศักดิ์นรินทร์ จันทร์นาค โรงเรียน จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เพชรบุรี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ