บีโอไอมั่นใจลงทุนสดใส หลังการเมืองคลี่คลาย ไตรมาสแรก 8.5 หมื่นล้าน — อุตฯ อิเล็กแห่ขอส่งเสริม

ข่าวทั่วไป Friday April 28, 2006 17:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 เม.ย.--บีโอไอ
เลขาฯบีโอไอ มั่นใจภาวะการลงทุนไตรมาส 2 จะสดใส หลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ส่วนการลงทุนไตรมาสแรกปี 2549 มีโครงการขอรับ
ส่งเสริมจำนวน 314 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 85,600 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ายื่นขอรับส่งเสริมมากที่สุด เพื่อรับ
สิทธิประโยชน์ใหม่ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมบริการ และปิโตรเคมี
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าภาวะลงทุนในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2549
เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ไทยจะเผชิญกับปัญหาทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติรายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทย ต่าง
ชะลอดูความชัดเจนของนโยบายการเมือง เพราะไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุน ในช่วงไตรมาสแรกนี้ มีจำนวน 314 โครงการ
คิดเป็นมูลค่า 85,600 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 72,000 คน ซึ่งแม้เม็ดเงินจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 52 เนื่องจากปี 2548
มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ เข้ามาขอรับส่งเสริมคิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจเข้ามาลงทุนมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า
25,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่าร้อยละ 37 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนผลิต PCB และ PCBA ชิ้นส่วน HDD และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่
มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 15,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของสำนักงานฯ เมื่อ
เดือนธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา
ส่วนกิจการที่มีความสนใจลงทุนเป็นอันดับสอง คือ อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าการลงทุนรวม 22,800 ล้านบาท มีโครงการลงทุนที่
สำคัญ ได้แก่ กิจการโรงผลิตพลังงานไฟฟ้า และไอน้ำ กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง (บ้านเอื้ออาทร) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม
สูงถึงกว่า 17,000 ล้านบาท
รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 13,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่
แล้วกว่า 3 เท่า ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์
ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.49)
อุตสาหกรรม โครงการ เงินลงทุน
(ล้านบาท)
1. เกษตรกรรม และผลิตผลการเกษตร 42 8,500
2. เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน 11 700
3. อุตสาหกรรมเบา 32 4,200
4. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง 55 11,100
5. อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า 74 24,800
6. เคมี กระดาษ และพลาสติก 27 13,500
7. บริการ และสาธารณูปโภค 73 22,800
รวม 314 85,600
การลงทุนจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 6 หมื่นล้านบาท
นายสาธิต กล่าวต่อไปว่า ไตรมาสแรกปีนี้ การลงทุนต่างชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ยังคงเป็นประเทศ
ญี่ปุ่นที่ยังครองแชมป์การลงทุนในไทยสูงสุด ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน รองลงมาเป็นกลุ่มยุโรป และอาเซียน ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 นั้น คาดว่าจะมีทิศทางการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า
การลงทุนสูงสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่ม และภายหลังจากที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลีคลายไปในทางที่ดีขึ้น ทางบีโอไอจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งเดิน
สายโรดโชว์ เพื่อสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเชื่อว่ายอดขอรับ
ส่งเสริมการลงทุนในปีนี้น่าจะเป็นเป้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 800,000 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ