พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 2 - 8 มีนาคม 2554

ข่าวทั่วไป Wednesday March 2, 2011 20:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 มีนาคม 2554 - 08 มีนาคม 2554

ภาคเหนือ

มีอากาศร้อนและฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศา ในช่วงวันที่ 2- 3 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 4-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนไม่มากนักเกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต และกักเก็บสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงแล้ง นอกจากนี้เกษตรกรควรเตรียมพร้อมป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอาคารบ้านเรือน และโรงเรือน จากลมกระโชก ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกขาด เมื่อมีลมกระโชกแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีอากาศร้อนและฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาในช่วงวันที่ 2-4 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับลมกระโชกแรงบางแห่งต่อจากนั้นฝนลดลง เกษตรกรควรเตรียมพร้อมป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอาคารบ้านเรือน โรงเรือน และพืชผลการเกษตรจากลมกระโชกแรงในช่วงวันที่ 2-4 มี.ค. นอกจากนี้ควรกักเก็บสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และผักควรให้น้ำเพิ่มเติมและคลุมโคนต้นด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากอากาศร้อน

ภาคกลาง

อากาศร้อนและฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศา ในช่วงวันที่ 2- 3 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 4-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนไม่มาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยสงวนความชื้นในดิน นอกจากนี้ควรกักเก็บสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงแล้ง อนึ่งเกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 4-8 มี.ค.

ภาคตะวันออก

มีอากาศร้อนและฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศา มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง ฝนที่ตกในช่วงนี้จะเป็นผลดีแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตและไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต รวมทั้งควรค้ำยันกิ่งของไม้ผลที่กำลังติดผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกขาด เมื่อมีลมกระโชกแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนสำรองไว้ใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 2-3 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ในช่วงวันที่ 4-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณทางตอนล่างของภาค ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ถึงกระจายตลอดช่วง บริเวณที่มีฝนตกน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหาร สำหรับไม้ผลหากเริ่มเห็นดอกชัดเจนแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มขึ้นทีละน้อย ถ้าขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง รวมทั้งควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 มี.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนสำรองไว้ใช้ในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ได้ให้ไว้ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ