พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 เมษายน 2557 - 29 เมษายน 2557

ข่าวทั่วไป Thursday April 24, 2014 06:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 เมษายน 2557 - 29 เมษายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-42 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27 -29 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงขณะลมแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุที่ผูกยึด และอุปกรณ์ที่ค้ำยันกิ่งและลำต้นของพืชที่รับน้ำหนักมากให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มของกิ่งและลำต้น
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 26-29 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงขณะลมแรง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และพืชผักได้บ้าง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสม กับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงหากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27 - 29 เม.ย จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร อาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนที่ตกในระยะนี้ ยังไม่เพียงพอต่อการเกษตร เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม รอจนมีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 23-26 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุที่ผูกยึด และอุปกรณ์ที่ค้ำยันกิ่งและลำต้นของพืชที่รับน้ำหนักมากให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มของกิ่งและลำต้น ส่วนผลทุเรียนที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินและเจาะผลทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 23-24 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 เม.ย. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ จะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้บ้าง นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่ฝนน้อย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินดอกทำให้การติดผลลดลง หากพบการระบาดควรรีบกำจัด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 23-24 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 เม.ย. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ปริมาณฝนทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะเพิ่มขึ้นกว่าระยะที่ผ่านมา เกษตรกรที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • สำหรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ จะช่วยบรรเทาความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง และลดการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้บ้าง นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่ฝนน้อย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินดอกทำให้การติดผลลดลง หากพบการระบาดควรรีบกำจัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ