พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 18 กรกฎาคม 2557 - 24 กรกฎาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday July 21, 2014 08:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 18 กรกฎาคม 2557 - 24 กรกฎาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังฝนสาด ดูแลพื้นคอกอย่าให้ชื้นแฉะ หลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับลำไยที่อยู่ในระยะผลแก่ ชาวสวนควรระวังและป้องกันสัตว์ศัตรูพืช เช่น ค้างคาว กระรอก และผีเสื้อ มวนหวาน ซึ่งจะกัดกินและดูดน้ำหวานจากผลทำให้ผลเน่าเสีย และเชื้อโรคอาจลุกลามไปยังผลอื่นได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 18-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีลมแรงและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณแม่น้ำโขง
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกอาจทำให้มีน้ำบ่า ชาวนาควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนาในระยะต่อไป

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงที่มีฝนตกผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ซึ่งจะรบกวนสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโตและบางชนิดอาจนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งสัตว์มีพิษซึ่งอาจเข้ามาอาศัยในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกและในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักด้วย
  • สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล แต่ควร หมั่นสังเกตผลที่อยู่เป็นกลุ่ม เพราะอาจมีโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเล อันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกและในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักด้วย
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชสวนควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเล อันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ