พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 กรกฎาคม 2557 - 03 สิงหาคม 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday July 29, 2014 08:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 กรกฎาคม 2557 - 03 สิงหาคม 2557

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อนควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนัก ลำไยที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวอาจทำให้ผลแตกและร่วงหล่นเน่าเสีย ตามโคนต้นและภายในสวน เกษตกรควรกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และพืชผักในระยะนี้ควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุด และโรคราสนิม เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควร เฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก และน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูตเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณ และการกระจาย ไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ที่จะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชทรุดโทรม ชะงักการเจริญเติบโต
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชสวน ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้น ทรุดโทรม ชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกชุก สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ และใบจุดสีน้ำตาล รวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอข้าว และหนอนห่อใบข้าว เป็นต้น

-สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งเก็บกวาดเปลือกและผลที่เน่าเสียร่วงหล่นไปกำจัด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • สำหรับ ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ และทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบผลที่เป็นโรค หรือศัตรูพืชเข้าทำลายควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้ลุกลามไปยังผลอื่นๆ รวมทั้งเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัด ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่กระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรจึงควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับ ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ และทุเรียน เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบผลที่เป็นโรค หรือศัตรูพืชเข้าทำลายควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้ลุกลามไปยังผลอื่นๆ รวมทั้งเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัด ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ