พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 กันยายน 2557 - 07 กันยายน 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday September 2, 2014 08:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 กันยายน 2557 - 07 กันยายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชผักและไม้ดอก ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุด โรคราสนิม และโรครากเน่า เป็นต้น โดยทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและหมั่นสำรวจ ตัดแต่ง และถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งและนำไปทำลายเพื่อมิให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 1-3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ข้าวนาปีที่อยู่ในระยะแตกกอชาวนาควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูข้าว เช่น หนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว และหอยเชอรี่ เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหายได้
  • ส่วนบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นต้องลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูตทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เป็นต้น ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแส้ดำในอ้อย โรคราน้ำค้างในข้าวโพด และโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง โดยกำจัดวัชพืชเพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก และหมั่นสำรวจหากพบต้นที่เป็นโรคควรถอนออกไปทำลาย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนัก เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง และพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ส่วนไม้ผล เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งไม้ผลให้ทรงพุ่มโปร่งแสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น และอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดในมังคุด โรคราแป้งในเงาะ และโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น รวมทั้งไม่กองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ตลอดจนผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสีย ไว้ในสวน แต่ควรนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวในยางพารา โรคราสนิมและผลเน่าในกาแฟ และโรคทลายปาล์มเน่าในปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1 - 3 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อน
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น รวมทั้งไม่กองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ตลอดจนผลที่ร่วงหล่น และเน่าเสีย ไว้ในสวน แต่ควรนำไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวในยางพารา โรคราสนิมและผลเน่าในกาแฟ และโรคทลายปาล์มเน่าในปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 4 – 7 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ