พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 ตุลาคม 2557 - 07 ตุลาคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday October 2, 2014 08:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 ตุลาคม 2557 - 07 ตุลาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1- 3 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. ตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับกันหนาว และให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยงไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. จะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ เพื่อลดแรงต้านลมป้องกันการหักโค่นทับอาคารบ้านเรือน
  • นอกจากนี้ เกษตรกรที่มีแหล่งกักเก็บน้ำเป็นของตัวเองควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่อจากในระยะต่อไปปริมาณ และการกระจายของฝนจะเริ่มลดลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1- 3 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. ตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับกันหนาวให้สัตว์เลี้ยง
  • ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. จะมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ เพื่อลดแรงต้านลมป้องกันการหักโค่นทับอาคารบ้านเรือน
  • นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ อย่าให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่หลังการทำนา ควรเลือกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย และควรชุบท่อนพันธุ์หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา เนื่องจากระยะนี้ในดินยังคงมีความชื้นสูง
  • นอกจากนี้ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่อจากในระยะต่อไปปริมาณ และการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงอาจทำให้เกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวนาควรระวังการระบาดของโรคไหม้ ในข้าวนาปีที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต โดยหมั่นสำรวจแปลงนาหากพบควรรีบกำจัดก่อนที่จะระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ และสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนัก ซึ่งเป็นผลดีกับพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ ควรดูแลสภาพสวนให้โปร่ง ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งกำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1- 3 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนัก ซึ่งเป็นผลดีกับพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ ควรดูแลสภาพสวนให้โปร่ง ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งกำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ