พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 ตุลาคม 2557 - 19 ตุลาคม 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday October 14, 2014 08:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 ตุลาคม 2557 - 19 ตุลาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

-สัปดาห์นี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน ในบางช่วงอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อมใช้งาน รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาว โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กเพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชไร่และพืชผัก ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง และราสนิม เป็นต้น รวมทั้งระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชเสียหายผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส และมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก รวมทั้งทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและป่วยได้
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวัน เอื้อให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวนาปีที่อยู่ในระยะออกรวง ชาวนาควรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบกำจัดก่อนแพร่ระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ทางบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ต.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ถึงแม้ปริมาณฝนจะลดลงในระยะนี้ แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะปลายฤดูฝนควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชเสียหายผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ต.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้จะมีบริมาณฝนลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหายได้
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝน ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนัก ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนพื้นที่ทางตอนบนของภาคที่เกิดน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนัก ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนพื้นที่ทางตอนบนของภาคที่เกิดน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ