พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 พฤศจิกายน 2557 - 02 ธันวาคม 2557

ข่าวทั่วไป Wednesday November 26, 2014 15:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 พฤศจิกายน 2557 - 02 ธันวาคม 2557

ภาคเหนือ

อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในระยะนี้บางพื้นที่อาจมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ นอกจากนี้เกษตรกรควรระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 30 – 2 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยทางตอนล่างมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ช่วงนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณมีน้อยอาจทำให้มีการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ ดังนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26 - 30พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้าส่วนในช่วงวันที่ 1 – 2 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยทางตอนล่างมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ช่วงนี้บางวันแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ส่วนเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยไฟ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหายได้ รวมทั้งควรเพิ่มความชุ่มชื้นภายในโรงเรือน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26-30 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีเมฆบางส่วนอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 1 – 2 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ช่วงนี้บางวันจะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเพื่อเตรียมแทงช่อดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลให้การแตกตาดอกของพืชลดลง
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • สำหรับชาวสวนไม้ผล ยางพารา และกาแฟ ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ในระยะนี้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • สำหรับชาวสวนไม้ผล ยางพารา และกาแฟ ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ