พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 ธันวาคม 2557 - 18 ธันวาคม 2557

ข่าวทั่วไป Friday December 12, 2014 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 ธันวาคม 2557 - 18 ธันวาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-14 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ผู้เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงป่วยและตายได้
  • สำหรับบริเวณยอดดอยอาจมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ในช่วงนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดการแยกชั้นของน้ำ ในระดับบนและน้ำในระดับลึกโดยเปิดเครื่องตีน้ำ และควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิลดลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นเหตุให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศหนาว อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนให้แก่สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอ และเป็นโรค ได้ง่าย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะสัตว์ที่อ่อนแออาจป่วยและตายได้
  • สำหรับบริเวณยอดภูอาจมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผล ทางการเกษตร
  • เนื่องจากอุณหภูมิอากาศลดลงส่งผลให้อุณหภูมิน้ำลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากอุณหภูมิอากาศลดลงส่งผลให้อุณหภูมิผิวน้ำและน้ำในระดับลึกแตกต่างกัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อไม่ให้น้ำแยกชั้น ป้องกันสัตว์น้ำขาดออกซิเจน
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืช เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงัก การเจริญเติบโตผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ประกอบกับปริมาณฝนมีน้อยชาวสวนผลไม้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 12-13และ16-17 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-15และวันที่18 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาค สภาพอากาศจะแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืช ทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ทุเรียน ลองกอง กาแฟ และยางพารา เป็นต้น ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบควบคุมโรคก่อนระบาดไปสู่ต้นอื่นๆ
  • ในช่วงวันที่ 12-18 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และในช่วงวันที่ 12-14 และ16-18 ธ.ค. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาค สภาพอากาศจะแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืช ทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ผู้ที่ปลูกพืชสวน เช่น ทุเรียน ลองกอง กาแฟ และยางพารา เป็นต้น ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบควบคุมโรคก่อนระบาดไปสู่ต้นอื่นๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ