พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 มกราคม 2558 - 22 มกราคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday January 16, 2015 16:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 มกราคม 2558 - 22 มกราคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค. อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อย ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-6 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สภาพอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และอาจมีน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดิน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ตัวที่ไม่แข็งแรงป่วยและตายได้
  • ระยะนี้เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค. ทางตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-28 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นเหตุให้สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคเน่าในปลา
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยได้มาก ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนผู้ที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง ควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย บริเวณอาคารบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค. อากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศหนาวเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำพืชในช่วงเย็น เพื่อลดการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้แตกต่างกันมากระหว่างผิวน้ำและน้ำในระดับลึก โดยเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค. อากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนเกษตรกรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18-22 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ส่วนทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้การผลิดอกออกผลลดลง
  • แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรจึงควรระวังและป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าและโคนเน่าในทุเรียน โรคราสีชมพูในลองกองและยางพารา เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-18 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีคลื่นลมแรงโดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ส่วนทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้การผลิดอกออกผลลดลง
  • แม้ปริมาณฝนจะลดลงแต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรจึงควรระวังและป้องกัน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าและโคนเน่าในทุเรียน โรคราสีชมพูในลองกองและยางพารา เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ