พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2558 - 05 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday February 27, 2015 15:27 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2558 - 05 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

ตอนบนของภาคอากาศหนาว ส่วนตอนล่างอากาศเย็นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันจะมีอากาศร้อน จนทำให้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหมั่นสังเกตหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

-สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ.–2 มี.ค. และ วันที่ 5 มี.ค. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมากประกอบกับปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยทำให้ความชื้นภายในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่ซึ่งระยะที่ผ่านมามีฝนตกโดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1–2 และ วันที่ 5 มี.ค. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือนในตอนกลางวัน รวมทั้งควรเพิ่มน้ำกินให้กับสัตว์เลี้ยงด้วย
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตและในช่วงผลิดอกออกผล อย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1 – 2 มี.ค. และ วันที่ 5 มี.ค. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย
  • เนื่องจากบางช่วงมีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1– 2 มี.ค. และ วันที่ 5 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกมีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก ควรรอให้เห็นดอกชัดเจนแล้วค่อยให้น้ำโดยให้น้ำในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
  • ระยะนี้จะมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ยางพาราที่อยูในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลงได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และเนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1 – 2 มี.ค. และ วันที่ 5 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกมีน้อยประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก ควรรอให้เห็นดอกชัดเจนแล้วค่อยให้น้ำโดยให้น้ำในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
  • ระยะนี้จะมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ยางพาราที่อยูในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นยางเสียหาย ผลผลิตลดลงได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และเนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ