พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 25 มีนาคม 2558 - 31 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday March 25, 2015 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 มีนาคม 2558 - 31 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัว ในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และต้นไม้ใหญ่ รวมทั้งไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้ในที่โล่งแจ้งขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต เช่นลิ้นจี่ และลำไย ชาวสวนควรระวังความเสียหายจากลมกระโชกแรงที่อาจเกิดขึ้นไว้ด้วย
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกร ควรกักเก็บน้ำเพื่อไว้ใช้ในด้านการเกษตร
  • ในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค.อุณหภูมิจะสูงขึ้น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว และผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ควรกักเก็บน้ำเพื่อไว้ใช้ในด้านการเกษตร
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรป้องกันน้ำฝนที่ไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนอกจากนี้ควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับสัตว์น้ำ
  • ในช่วงวันที่ 27- 31 มี.ค.อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2–4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยง ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-31 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูง
  • สำหรับฝนที่ตกจะช่วยบรรเทาความร้อนของอากาศ ลงไปได้บ้าง นอกจากนี้เกษตร ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใชในด้านการเกษตร
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรป้องกันน้ำฝนที่ไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับสัตว์น้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. ตอนบนของภาค มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง อาจทำให้ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ได้รับความเสียหาย เกษตรกรจึงควรสำรวจตรวจสอบ อุปกรณ์ที่ผูกยึดกิ่ง และค้ำยันลำต้นไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมกระโชกแรง
  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตก ทำให้อากาศมีความชื้นสูงขึ้นส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ปีกอาจเจ็บป่วยเป็นหวัด เกษตรกรควรหมั่นดูแล หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบให้การรักษา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาคส่วนในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังคงมีน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรสงวนความชื้นในดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมดิน เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน
  • เนื่องจากระยะที่ผ่านมา มีฝนตกน้อยอากาศแห้ง อาจทำให้มีแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดเข้าทำลายไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว นอกจากนี้ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสวนยาง โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังคงมีน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรสงวนความชื้นในดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมดิน เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน
  • เนื่องจากระยะที่ผ่านมา มีฝนตกน้อยอากาศแห้ง อาจทำให้มีแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดเข้าทำลายไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว นอกจากนี้ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสวนยาง โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ