พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 กรกฎาคม 2558 - 26 กรกฎาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday July 20, 2015 15:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 กรกฎาคม 2558 - 26 กรกฎาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในบริเวณที่มีฝนตกหนัก ชาวสวนควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิตที่รับน้ำหนักมากให้แข็งแรง นอกจากนี้ฝนที่ตกอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลแตก เน่าเสียหาย และผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตอนบนและตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่อาจมีวัชพืชเจริญเติบโตขึ้นมาปกคลุม เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง ซึ่งศัตรูสัตว์บางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ - ส่วนข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้าถึงเจริญเติบโตควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรดูแลและซ่อมแซมโรงเรือนอย่าให้หลังคารั่วและพื้นคอกชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงเพาะปลูก
  • สำหรับสวนยางพารา ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

-ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส

  • ส่วนชาวสวนยางพาราโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคควรป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยางเสียหายได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูง ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนยังคงมีกำลังแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเล อันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 20-21 ก.ค.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ