พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 31 กรกฎาคม 2558 - 06 สิงหาคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday July 31, 2015 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 31 กรกฎาคม 2558 - 06 สิงหาคม 2558

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 1- 4 ส.ค. มีฝนหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน ควรติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ในข้าวนาปี ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ หากเก็บเกี่ยวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้ในสวนเพราะอาจเกิดความเสียหายจากฝนที่ตกได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 1- 3 ส.ค. มีฝนหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว - สำหรับในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • เนื่องจากระยะนี้และระยะที่ผ่านมามีฝนตกทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากต้นพืชและไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 1- 3 ส.ค. มีฝนหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้นสำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองสำหรับระบายน้ำในพื้นที่การเกษตร อย่าให้ตื้นเขิน และจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกใหม่ควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และการเปิดเครื่องตีน้ำจะเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำด้วย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 1- 3 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4- 6 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ระยะนี้ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งจะทำพืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1- 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4- 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะผลที่อยู่เป็นกลุ่ม และผลที่อยู่ชิดกัน ซึ่งหนอนจะเข้าทำลายและหลบซ่อนตัว ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1- 3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4- 6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาสถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะผลที่อยู่เป็นกลุ่ม และผลที่อยู่ชิดกัน ซึ่งหนอนจะเข้าทำลายและหลบซ่อนตัว ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ