พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 กรกฎาคม 2559 - 28 กรกฎาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday July 22, 2016 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 กรกฎาคม 2559 - 28 กรกฎาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี สภาพอากาศมีความชื้น : ระวังโรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า ส่วนเกษตรกรที่เริ่มทำนาไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • ไม้ผล (ผลสุก) สภาพอากาศมีความชื้น : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา การระบาดของหนอนชนิดต่างๆ และผีเสื้อมวนหวาน
  • กาแฟ (ระยะติดผล) สภาพอากาศมีความชื้น :โรคราสนิม โรคเน่าคอดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี สภาพอากาศมีความชื้น : ระวังโรคไหม้ ส่วนเกษตรกรที่เริ่มทำนาไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • พืชผักชนิดต่างๆ สภาพอากาศมีความชื้น :โรคเน่า และโรค ราน้ำค้าง หนอนเจาะลำต้น หนอนกระทู้ผัก
  • ข้าวโพดหวาน สภาพอากาศมีความชื้น : ราน้ำค้าง หนอนเจาะลำต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าว ระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
  • สุกร สภาพอากาศมีความชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกให้สะอาดอย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย โดยเฉพาะโรคไข้หวัดสุกร และปากเท้าเปื่อย
  • ไม้ดอก และไม้ประดับ สภาพอากาศมีความชื้น : ระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคจุดสนิม โรคเน่าดำ โรคยอดเน่า รวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) สภาพดินและอากาศมีความชื้น :โรครากเน่าโคนเน่า หนอนกินใบ และหนอนเจาะลำต้น
  • พริกไทย ดินมีความชื้นสูง : โรครากเน่า โคนเน่า
  • สัตว์น้ำ(ในบ่อ) ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ เปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ไม้ผล (ระยะเจริญเติบโตทางผล) ป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยตัดผลที่มีโรคและศัตรูพืชไปทำลาย และระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และราแป้งในเงาะ
  • กาแฟ สภาพอากาศชื้น : ระวังโรคราสนิม
  • ยางพารา สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : ระวังป้องกันโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • สัตว์เท้ากีบ อาจมีน้ำท่วมขัง :โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 23-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ไม้ผล (ระยะเจริญเติบโตทางผล) ป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยตัดผลที่มีโรคและศัตรูพืชไปทำลาย และระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และราแป้งในเงาะ
  • กาแฟ สภาพอากาศชื้น : ระวังโรคราสนิม
  • ยางพารา สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : ระวังป้องกันโรคใบยางร่วง ลูกยางเน่า โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • สัตว์เท้ากีบ อาจมีน้ำท่วมขัง :โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม (1 – 21) บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีปริมาณฝนที่ตกสะสมส่วนใหญ่ตั้งแต่ 100-300 มม. ยกเว้นบริเวณจังหวัดตราด ระนอง พังงา และกระบี่ มีปริมาณฝนสะสม > 300 มม. นอกจากนี้บางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมในเดือนนี้ < 100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกหนักมากซึ่งได้แก่บริเวณจังหวัด ชัยนาท ตราด สุราษฎร์ธานี และพังงา มีปริมาณฝนสะสม > 100 มม. ส่วนบางพื้นที่ได้แก่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน สุรินทร์ และศรีสะเกษ มีฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตอนบนของภาคตะวันออกและภาคกลางมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่นๆ โดยมีค่าประมาณ 25 - 35 มม. ส่วนบริเวณอื่นๆมีค่ามีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ในช่วงตั้งแต่ 20-25 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ เช่น บริเวณจังหวัดลำพูน ตาก เชียงใหม่ สุรินทร์ และศรีสะเกษ และบริเวณใกล้เคียง

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาแม้มีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ เช่น บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก เชียงใหม่ สุรินทร์ และศรีสะเกษ และบริเวณใกล้เคียง และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนตกต่อเนื่องและบางพื้นที่จะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อพืชที่กำลังขาดน้ำในบางพื้นที่ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และศัตรูพืชจำพวกหนอน สำหรับบริเวณที่เป็นที่ลุ่มในภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ