พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 สิงหาคม 2559 - 30 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday August 24, 2016 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 24 สิงหาคม 2559 - 30 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบหงิก และศัตรูพืช เช่น หนอนห่อใบข้าว อนึ่ง ในบริเวณที่ฝนตกหนัก ชาวนาควรใช้ตาข่ายกั้นทางน้ำเข้านา เพื่อป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ ซึ่งอาจไหลมากับน้ำ
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : ดูแลระบบ ระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ป้องกันน้ำท่วมขัง และ ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ
  • กาแฟ อากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และศัตรูพืช เช่นหนอนเจาะลำต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืชจำพวกหนอน
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง : ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • มันสำปะหลัง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคใบไหม้ และโรคแอนแทรกโนส

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

  • ข้าวนาปี บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนกอและหนอนห่อใบข้าว และเพลี้ยชนิดต่างๆ
  • พืชไร่ บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้นในข้าวโพด เพลี้ยแป้งในมันสัมปะหลัง เป็นต้น
  • ไม้ผล บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะผลในส้มโอ เพลี้ยจักจั่นและด้วงชนิดต่างๆในมะม่วง เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่นหนอนแมลงนูนหลวง ทำลายรากมันสัมปะหลัง
  • ข้าวนาปี บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนกอและหนอนห่อใบข้าว และเพลี้ยชนิดต่างๆ
  • ไม้ผล บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ โรคใบไหม้ ในมังคุด เพลี้ยจักจั่นและด้วงชนิดต่างๆในมะม่วง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ฝั่งตะวันออก) บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟในชมพู่ หนอนเจาะผลในทุเรียน เพลี้ยจักจั่นและด้วงชนิดต่างๆในมะม่วง เพลี้ยไฟในมังคุด เป็นต้น
  • ยางพารา โรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ โรคราสีชมพู และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค.ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัด ระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 24-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ฝั่งตะวันออก) บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟในชมพู่ หนอนเจาะผลในทุเรียน เพลี้ยจักจั่นและด้วงชนิดต่างๆในมะม่วง เพลี้ยไฟในมังคุด เป็นต้น
  • ยางพารา โรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ โรคราสีชมพู และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และในช่วงวันที่ 27-30 ส.ค.ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัด ระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในระยะ 7 วันข้างหน้า

ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (วันที่ 1 – 23 ส.ค.) ปริมาณฝนสะสมในช่วงนี้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50-200 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนสะสมเกิน 200 มม. ส่วนในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่างมีฝนน้อยกว่า 50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนสะสมเกิน 100 มม. ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนน้อยกว่า 40 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ (น้ำที่ระเหยจาหดินและพืช) สะสม 15-25 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30 – 35 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาหลายพื้นที่มีฝนตกน้อยทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นลบ (ปริมาณน้ำระเหยมากกว่าปริมาณฝนที่ตก) เป็นส่วนมาก เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ซึ่งมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก (ปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าปริมาณน้ำระเหย)

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกน้อยในหลายพื้นที่ ทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชผลการเกษตรที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา ส่วนภาคกลางยังคงมีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น ๆ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างเหมาะสม

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ