พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 24 ตุลาคม 2559 - 30 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Tuesday October 25, 2016 08:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 24 ตุลาคม 2559 - 30 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว10-30 กม/ชม

  • สัตว์เลี้ยง อากาศเปลี่ยนแปลง : ผู้เลี้ยงสัตว์ทางตอนบนของภาค ควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสัตว์เลี้ยง
  • ข้าวนาปี สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวงใกล้เก็บเกี่ยว ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในบริเวณที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วัน ในบริเวณที่ดินเป็นดินทราย เพื่อเร่งข้าวให้สุกเร็วขึ้น
  • พื้นที่การเกษตร ช่วงวันที่ 24 -26 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว10-30 กม./ชม.

  • สัตว์เลี้ยง อากาศเปลี่ยนแปลง : ผู้เลี้ยงสัตว์ทางตอนบนของภาค ควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์โดยเฉพาะโรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสัตว์เลี้ยง
  • ข้าวนาปี สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะออกรวงใกล้เก็บเกี่ยว ชาวนาควรระบายน้ำออกจากแปลงนาหลังข้าวออกดอกประมาณ 15 วัน ในบริเวณที่ดินเป็นดินเหนียว หรือประมาณ 20 วันในบริเวณที่ดินเป็นดินทราย เพื่อเร่งข้าวให้สุกแก่เร็วขึ้น
  • พื้นที่การเกษตร ช่วงวันที่ 24 -26 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี นาข้าวที่ถูกน้ำท่วมเสียหายในช่วงที่ผ่านมา ที่ไม่สามารถพื้นฟูได้ ชาวนาที่จะปลูกข้าวรอบใหม่ควรอยู่ในเขตชลประทาน หากอยู่นอกเขตชลประทานควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน
  • ไม้ผล อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในส้มเขียวหวาน และผีเสื้อมวนหวานในส้มโอ เป็นต้น
  • พืชไร่ ดินและอากาศมีความชื้นสูง : ผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคแส้ดำในอ้อย โรคราสนิมในข้าวโพด เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมี คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ดินและอากาศมีความชื้นสูง : เกษตรกร ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน
  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ยางพารา ช่วงที่ฝนตกชุก : ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งไม่ควรกองเปลือกและผลที่เน่าเสียร่วงหล่น เอาไว้ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งสามารถระบาดจากเปลือกและผลที่เน่าเสียมาสู่ต้นพืชได้
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง :ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 24-27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งไม่ควรกองเปลือกและผลที่เน่าเสียร่วงหล่น เอาไว้ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งสามารถระบาดจากเปลือกและผลที่เน่าเสียมาสู่ต้นพืชได้
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง :ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน

หมายเหตุสำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม(1-24) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 50-100 ม. ยกเว้นบริเวณ จังหวัดน่าน เพชรบรูณ์ สกลนคร และนครพนม ที่มีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 50 มม. ส่วนบริเวณที่มีฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ได้แก่ บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกเกือบทั่วไป ส่วนมากทางด้านภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปริมาณฝนสะสะสมตั้งแต่ 20-100 มม. เว้นแต่บริเวณที่มีฝนตกหนักมากทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งปริมาณฝนสะสม>100 มม. ส่วนบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีฝนสะสมต่ำกว่า 20 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมประมาณ 25 มม.ส่วนภาคใต้มีค่าศักย์การคายระเหยสะสมประมาณ 15 มม.

สมดุลน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกน้อย ทำให้ในค่าสมดุลมีค่าเป็นลบ โดยมีค่าสมดุลน้ำสะสมอยู่ในช่วง (-10)-(-30) มม. ส่วนในภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักในระยะที่ผ่านมา ทำให้ค่าสมดุลน้ำมีค่าเป็นบวก โดยเฉพาะจังหวัดระนองและพังงา มีค่าสมดุลน้ำสะสมอยู่ในช่วง 200-400 มม. ส่วนบริเวณอื่นมีค่าอยู่ในช่วง 20- 100 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวรประเทศไทยตอนบน ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลน้ำเป็นลบและในช่วง7 วันข้างหน้าปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นในระยะช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชทางการเกษตร แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการพืช ดังนั้นเกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหม่ะสม เพื่อลดผลกระทบต่อผลผลิตพืชในระยะต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ