พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 พฤศจิกายน 2559 - 04 ธันวาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday November 28, 2016 15:51 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 พฤศจิกายน 2559 - 04 ธันวาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 28 พ.ย.- 3 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 3-5 องศาเซลเซียส ตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 1-2 ธ.ค.มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 1-2 ธ.ค.บริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูหนาว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าวและหญ้าแห้ง เนื่องจากในฤดูหนาวอากาศจะจมตัวควันไฟไม่สามารถลอยขึ้นไปในบรรยากาศได้ แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณใกล้เคียง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และทำให้ทัศนวิสัยลดลงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28 พ.ย.- 2 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภุมิดิน แต่ไม่ควรคลุมให้ชิดโคนต้นพืชเกินไป เพื่อป้องกันเชื้อโรคและศัตรูพืชจากวัสดุคลุมดินแพร่ไปสู่ต้นพืช

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 28 พ.ย.- 2 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนบนของภาคสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่าง ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดัง กล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร ส่วนทางตอนล่างของภาค ปริมาณและการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้น ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงหากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 28 พ.ย.- 2 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ยกเว้นในช่วงวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาสที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม การผลิดอกออกผลลดลง
  • พื้นที่การเกษตรระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ยางพารา เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝน เริ่มลดลงสภาพอากาศจะแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่เพาะปลูกและโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร โดยทำแนวกันไฟรอบแปลงเพาะปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 28-30 พ.ย. และ 4 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก กับจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล เกษตรกรไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ผุ หรือผลและเปลือกผลไม้ที่เน่าเสียไว้ชิดบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ซึ่งเชื้อโรคอาจลุกลามจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสู่ต้นพืชได้
  • ในช่วงวันที่ 1 – 3 ธ.ค. บริเวณตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 28 -30 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ธ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล เกษตรกรไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ผุ หรือผลและเปลือกผลไม้ที่เน่าเสียไว้ชิดบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช ซึ่งเชื้อโรคอาจลุกลามจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสู่ต้นพืชได้
  • ในช่วงวันที่ 1 – 3 ธ.ค. บริเวณตอนล่างของภาคใต้กจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (1-27) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ สำหรับบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 40 มม.เป็นส่วนใหญ่ สำหรับภาคใต้มีปนิมารฝนตกสะสมต่ำกว่า 100 มม. เป็นส่วนใหญ่ โดยทางตอนบนและตอนล่างของภาคปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าบริเวณอื่น

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. เป็นส่วนใหญ่

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณสมดุลน้ำสะสมเป็น(-30)-(40) มม.เป็นส่วนใหญ่ โดยบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกและบางพื้นที่ของภาคกลาง มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก ส่วนภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกส่วนใหญ่ เว้นแต่ทางตอนบนและตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีค่าสมดุลน้ำเป็นลบ

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีฝนตกน้อยทำให้สมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้ มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกดป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้ มีค่าวมดุลน้ำเป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ และในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและคลุมพื้นที่เพาะปลูกวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดศัตรูพืช จำพวกปากดูดในพืชไร่จำพวกปากดูดใน ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกัน โรคพืชจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ