พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 มกราคม 2560 - 17 มกราคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday January 11, 2017 15:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 มกราคม 2560 - 17 มกราคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11 -13 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 3-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 11-13 ม.ค.จะมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
  • พืชไร่และผักชนิดต่างๆ สำหรับอากาศเย็นและชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก และโรคราสนิมในถั่วเหลือง ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้
  • สัตว์น้ำ ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. อุณหภูมิจะลด 3-6 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิลดลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11 -12 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 13 -17 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

          - พื้นที่การเกษตร          ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ประกอบกับสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก ดังนั้นเกษตรกรควรดูแลพืชที่ปลูก โดยควรให้น้ำเพิ่มเติมและคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำ รักษาความชื้นในดินและช่วยให้อุณหภูมิดินไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม เช่น เพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11 -13 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 11-13 ม.ค.จะมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
  • สัตว์เลี้ยง ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-13 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14 -17 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย ประกอบกับมีน้ำระเหยมาก สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อนแล้ว ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม โดยให้ในปริมาณน้อยๆก่อนและค่อยๆเพิ่มขึ้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น
  • สัตว์น้ำ ช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งควรลดอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นเหตุให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 16 -17 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 16 – 17 ม.ค. ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร บริเวณที่น้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เกษตรควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล สวนผลไม้ทางภาคใต้ตอนล่างที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 16 – 17 ม.ค. ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร บริเวณที่น้ำลดเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เกษตรควรปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล สวนผลไม้ทางภาคใต้ตอนล่างที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ