พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday February 22, 2017 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-25 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาวต่อเนื่อง กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26–28 ก.พ.60 มีฝนบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย พืชผัก/
  • ไม้ดอก ในช่วงนี้ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว และมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า ซึ่งสภาพอากาศที่เย็นและชื้นอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืช เช่น โรคราน้ำค้างในพืชผักและไม้ดอกชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 26–28 ก.พ.60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 23 - 25 จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงวันที่ 23 -28 จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ ในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
  • สัตว์น้ำ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรรักษาสภาพน้ำ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เนื่องจากอากาศเย็นลง อาจทำให้สัตว์น้ำเครียด กินอาหารได้น้อย จึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำ

ภาคกลาง

ในวันที่ 23-26 ก.พ. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 ก.พ. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโตทำ ให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งควรคลุมบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันน้ำระเหยออกจากหน้าดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • สัตว์เลี้ยง สำหรับสภาพอากาศที่แปรปวน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ เกือบตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-25 ก.พ. 60 อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร และผลผลิตจากทะเลไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ไม้ผล ฝนที่ตกต่อเนื่องจะเป็นผลดีต่อไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา และช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย
  • มันสำปะหลัง ฝนที่ตกทำให้สภาพดินมีความชื้น เหมาะกับการเกิดโรคหัวมันเน่าในแปลงปลูกพืชที่ดินมีการระบายน้ำได้ไม่ดี เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นปริเวณกว้าง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญ เติบโต ส่วนทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใชทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ยางพารา ระยะนี้ปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนหนักบางแห่ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากขาว ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย
  • ประมงชายฝั่ง ช่วงวันที่ 25-28 ฝั่งอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญ เติบโต ส่วนทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใชทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ยางพารา ระยะนี้ปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนหนักบางแห่ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากขาว ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ