พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2560 - 05 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday February 27, 2017 15:34 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2560 - 05 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-28ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 13-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 28 ก.พ.- 5 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์น้ำ สภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นเป็นผลให้จุลินทรีย์ในน้ำเพิ่มมากขึ้นและปริมาณออกซิเจนลดลงส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
  • พืชผัก สภาพอากาศที่เย็นและชื้น เนื่องจากหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีม่วงในพืชตระกูลหอมกระเทียม และโรคราน้ำค้างในพืชตะกูลกะหล่ำ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนใยผัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.- 2 มี.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้สภาพอากาศแห้งและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้มีการสูญเสียน้ำจากดินและพืชได้มาก ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชผัก ไม้ดอก และพืชไร่ ควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกและคลุมแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยน้ำจากดิน รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืช จำพวกเพลี้ย และไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ปลากระชัง สภาพอากาศร้อน และแห้ง ในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรควรดูแลปริมาณปลาให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้ปลาอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกษตรกรควรระวังการเน่าเสียของอาหารปลา ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

ภาคกลาง

ในวันที่ 28 ก.พ. -2 มี.ค.60 มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3– 5 มี.ค. 60 อุณหภูมิจะสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สภาพอากาศร้อน และแห้ง ในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโตทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งคลุมบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันน้ำระเหยออกจากหน้าดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • ปลากระชัง สภาพอากาศร้อน และแห้ง ในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรควรดูแลปริมาณปลาให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้ปลาอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกษตรกรควรระวังการเน่าเสียของอาหารปลา ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 27 ก.พ. -2 มี.ค.60 มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 3- 5 มี.ค. 60 มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สัตว์น้ำ สภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นเป็นผลให้จุลินทรีย์ในน้ำเพิ่มมากขึ้นและปริมาณออกซิเจนลดลงส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
  • ไม้ผล ระยะนี้มีฝนแต่ปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำของไม้ผลที่ อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. -2 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-4 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้น ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีการคายน้ำจากดินและพืชมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลือไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 2 มี.ค. ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. -4 มี.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ทางตอนบนของภาคแม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีการคายน้ำจากดินและพืชมาก ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลือไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 2 มี.ค. ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ