พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 มีนาคม 2560 - 23 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday March 17, 2017 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 มีนาคม 2560 - 23 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. 60 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทาง ตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยเฉพาะทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

สัตว์เลี้ยง ทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาคจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนและจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้

ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้ด้วยระบบน้ำหยด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 23 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลผลิต การเกษตร ในช่วงวันที่ 17-23 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน และพืชผลการเกษตร และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้กลางแจ้งในระยะนี้

พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณที่มีปริมาณฝนตกน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรที่ปลูกพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชผัก ไม้ดอก และพืชไร่ ควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกอย่างเหมาะสม และคลุมแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย

พืชผัก/ ไม้ดอก ระยะนี้มีอากาศร้อน สำหรับพืชผักและไม้ดอกซึ่งมีระบบรากตื้นเกษตกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการคายน้ำและการระเหยน้ำของพืชที่เพิ่มขึ้นเมื่อสภาพอากาศร้อนขึ้น นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 17-23 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

ไม้ผล ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 17-18 มี.ค.60 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย ประกอบกับการคายน้ำจากดินและพืชยังมีปริมาณสูง ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับพืชที่ปลูกตลอดฤดูเพาะปลูก โดยเลือกวิธีการและช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 17-20 มี.ค.60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. 60 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย ประกอบกับการคายน้ำจากดินและพืชยังมีปริมาณสูง ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับพืชที่ปลูกตลอดฤดูเพาะปลูก โดยเลือกวิธีการและช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ