พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 เมษายน 2560 - 25 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday April 19, 2017 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 เมษายน 2560 - 25 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ไม้ผล ระยะนี้ยังคงมีฝนตกน้อยและมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้ปริมาณการคายระเหยน้ำมีมาก ชาวสวนผลไม้ เช่น ลำไย ควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูก เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาอุณหภูมิดิน และสงวนความชื้นภายในดิน รวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนและร้อนจัดในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-21 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีปริมาณฝนน้อยและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และคลุมโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน และสงวนความชื้นในดิน รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง อากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้กับสัตว์ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และไม่ควรปล่อยให้สัตว์ที่เลี้ยงอยู่กันหนาแน่นเกินไป รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำพืชในช่วงเย็น รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สัตว์น้ำ อากาศร้อนและแสงแดดจัด และมีอัตราการระเหยน้ำสูง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน และสัตว์น้ำจะอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-22 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้อากาศร้อน ส่วนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หรือให้น้ำระบบน้ำหยด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ