พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 เมษายน 2560 - 27 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday April 21, 2017 14:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 21 เมษายน 2560 - 27 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวันโดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาค กับจะมีฝนฟ้าคะนองและกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • พืชผัก/ไม้ดอก ระยะนี้ยังคงมีฝนตกน้อยและมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด การคายระเหยน้ำมีมาก ความชื้นในอากาศเหลือน้อย ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกพืชผักและไม้ดอกควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียในแต่ละวัน และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูก เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาอุณหภูมิดิน และสงวนความชื้นภายในดิน รวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวันโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตการเกษตรไว้ด้วย
  • สัตว์เลี้ยงระยะนี้จะมีปริมาณฝนน้อยและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด เบื่ออาหารและอาจเจ็บป่วยได้ เกษตรกรควรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด จัดเตรียมน้ำสะอาดให้อย่างเพียงพอ ตรวจสอบโรงเรือนให้อยู่ในสภาพดี รวมทั้งควรมีการจัดการระบบระบายอากาศ น้ำ และความชื้นภายในโรงเรือนโดยเฉพาะวัสดุรองพื้นควรดูแลให้แห้งอยู่เสมอ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างการขาดน้ำ ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดกับผลผลิตการเกษตรไว้ด้วย
  • สัตว์น้ำระยะนี้อากาศร้อนและมีอัตราการระเหยน้ำสูง ซึ่งจะ ทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น ปริมาณน้ำลดลง ดังนั้นผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน และสัตว์น้ำจะอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางเกษตรโดยเฉพาะ ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ส่วนปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
  • พืชไร่/ผัก ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ และพืชผักควรจัดหาน้ำให้แก่พืชตามความจำเป็นและ หาวัสดุคลุมผิวดินโดยคลุมจากโคนต้นจนถึงแนวรัศมีทรงพุ่ม วัสดุที่ใช้ เช่น ใบไม้แห้งที่ร่วงหล่น กาบมะพร้าว หญ้าแห้ง ซึ่งจะช่วยชะลออัตราการระเหยน้ำจากผิวดินให้ช้าลงและเศษวัสดุเหล่านี้จะค่อยๆ ผุพังเป็นอินทรีย์วัตถุทำให้ดินร่วนและมีการอุ้มน้ำดีขึ้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตรปริมาณฝนที่ตกมีน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ยางพารา ระยะนี้มีฝนตกน้อย สำหรับยางพาราต้นอายุ 1 – 3 ปี ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้ขาดร่มเงา ชาวสวนควรใช้วัสดุที่หาง่าย มีปริมาณมาก ๆ เช่น เศษวัชพืช หญ้าคา ฟางข้าว ฯลฯ โดยใช้คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน หรือ วางแผนแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วยการปลูกพืชแซม ที่เหมาะสม เช่น การปลูกกล้วย ซึ่ง นอกจากจะช่วยพรางแดดแล้วยังเป็นพืชที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้เป็นอย่างดี

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร br>-พื้นที่การเกษตรปริมาณฝนที่ตกมีน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

  • ยางพารา ระยะนี้มีฝนตกน้อย สำหรับยางพาราต้นอายุ 1 – 3 ปี ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้ขาดร่มเงา ชาวสวนควรใช้วัสดุที่หาง่าย มีปริมาณมาก ๆ เช่น เศษวัชพืช หญ้าคา ฟางข้าว ฯลฯ โดยใช้คลุมบริเวณโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน หรือ วางแผนแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วยการปลูกพืชแซม ที่เหมาะสม เช่น การปลูกกล้วย ซึ่ง นอกจากจะช่วยพรางแดดแล้วยังเป็นพืชที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้เป็นอย่างดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ