พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 มิถุนายน 2560 - 25 มิถุนายน 2560

ข่าวทั่วไป Monday June 19, 2017 14:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 มิถุนายน 2560 - 25 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝน ตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะแย่งน้ำและอาหารจากต้นพืชที่ปลูก เกษตรกรจึงควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูกให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูกและเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และเนื่องจากระยะต่อไปจะมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรเพียงพอในระยะฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝน ตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพืชที่ปลูกในระยะต้นฤดูฝนที่ผ่านมา เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอโดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณที่มีฝนตก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผล แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา หากดินยังคงมีความชื้นอยู่ควรให้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นพื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่อ่อนกำลังลงในบางช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนในภาคใต้ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผล สำหรับระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 19-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่อ่อนกำลังลงในบางช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนในภาคใต้ลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • พืชสวน สำหรับระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช เนื่องจากโรคและศัตรูพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในวัชพืช
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 19-23 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ