พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 มิถุนายน 2560 - 27 มิถุนายน 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday June 21, 2017 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 21 มิถุนายน 2560 - 27 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และหากดินมีความชื้นควรใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วต้นพืชมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงฤดูฝนแมลงศัตรูสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ศัตรูสัตว์ เช่น ยุง เหลือบ ริ้น ไร เป็นต้น มารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้สัตว์ชะงักการเจริญเติบโต และอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณที่มีฝนตกน้อย โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะ พืชไร่และพืชผัก ตลอดจนพืชที่ปลูกใหม่ในช่วงต้นฤดูฝนที่ผ่านมา เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการระเหยของน้ำมีมาก ทำให้สมดุลน้ำในดินมีค่าลดลง เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตลดลง
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก/ไม้ดอก ระยะนี้จะมีฝนลดลง หรือในบางพื้นที่อาจมีฝนตกๆหยุดๆ สภาพอากาศ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 22-25 มิ.ย.มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น หรือเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามจากเปลือกและผลที่เน่าเสียมาสู่ต้นพืชได้
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรยังคงต้องเฝ้าะวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่อ่อนกำลังลงในบางช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนในภาคใต้ลดลง แต่เนื่องจากทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกในระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุกทำให้ปริมาณน้ำในดินยังคงมีมาก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ไม้ผล เนื่องจากฝนที่ลดลง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจผลที่อยู่ชิดกัน ผลที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพราะอาจมีหนอนเข้าทำลายได้ง่าย หากพบควรรีบกำจัด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-25 มิ.ย. ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่อ่อนกำลังลงในบางช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนในภาคใต้ลดลง แต่เนื่องจากทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกในระยะที่ผ่านมามีฝนตกชุกทำให้ปริมาณน้ำในดินยังคงมีมาก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ชาวประมง ระยะนี้ บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ