พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 มิถุนายน 2560 - 02 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday June 26, 2017 15:31 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 มิถุนายน 2560 - 02 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 26 – 30 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชผลการเกษตรที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • ลำไย ระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนลำไยควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่น นอกจากนี้ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ชาวสวนควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชผักและพืชไร่ ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคแอนแทรคโนสในพืชตระกูลพริก และพืชตระกูลหอม โรคราน้ำค้างในข้าวโพด และโรคเน่าคอดินในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • ข้าวนาปี สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคไหม้ และหนอนกระทู้กล้า ซึ่งทำให้ต้นกล้าเสียหายได้โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวแบบนาหว่าน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณด้านตะวันตกของภาคจะมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • พืชไร่/ไม้ผล /พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อนในบางวัน ซึ่งสภาพอากาศ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.– 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ไม้ผล ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศ และดินมีความชื้นสูง ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องถึงโคนต้นเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 26-28 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มิ.ย.– 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความชื้นในแปลงปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 26-30 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 2 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนต่อเนื่องและมีตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งควรเตรียมป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ยางพารา ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความชื้นในแปลงปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 26 -30 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง1 - 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ