พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 กรกฎาคม 2560 - 20 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday July 14, 2017 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 กรกฎาคม 2560 - 20 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 16-19 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ข้าวนาปี ในช่วงนี้จะมีฝนตกชุก อาจทำให้มีปริมาณน้ำในแปลงนาเพิ่มสูงขึ้นและท่วมต้นข้าวที่อยู่ในระยะกล้าถึงปักดำได้ ชาวนาควรหมั่นสำรวจแปลงนาและปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลงนาเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ ซึ่งจะระบาดมากในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศที่แปรปรวน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตุอาการของ สัตว์เลี้ยง โดยโรคสัตว์ที่ระบาดในช่วงฤดูฝน เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญใน โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • สัตว์น้ำในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายเนื่องจากปริมาณและคุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในกระชัง ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อาจจะน๊อคน้ำตายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก
  • สัตว์เลี้ยงในช่วงนี้ด้านตะวันตกของภาคจะมีฝนตกชุก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตุอาการของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน อาจทำให้สัตว์เครียด ร่างกายอ่อนแอ และอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย โดยโรคสัตว์ที่ระบาดในช่วงฤดูฝน เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญใน โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะทางล่างของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก
  • สัตว์น้ำ ในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายเนื่องจากปริมาณและคุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในกระชัง ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อาจจะน๊อคน้ำตายได้
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนและบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก
  • ชาวประมงชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะทางตอนบนและบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก
  • ยางพาราในระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยางเสียหายได้
  • ชางประมงชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ