พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 สิงหาคม 2560 - 29 สิงหาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday August 23, 2017 15:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 สิงหาคม 2560 - 29 สิงหาคม 2560

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก

สัตว์น้ำ ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

พืชผัก ระยะนี้จะยังคงมีฝนตก เกษตรกรที่ปลูกผักชนิดต่างๆควรระวังความเสียหายเนื่องจากฝนที่จะตก รวมทั้งควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดินและโรคราน้ำค้าง เป็นต้น โดยหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัด

ข้าวนาปี สำหรับนาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ผ่านมา หากต้องการปลูกข้าวรอบใหม่ควรเลือกพันธุ์ข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และไม่ควรหว่านข้าวหนาแน่นเกินไป ส่วนนาข้าวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดจำพวกหนอน เช่น หนอนกอ และหนอนกระทู้ เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 23-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศร้อนชื้น เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ผักในพืชผักสวนครัว หนอนม้วนใบในถั่วเหลือง และหนอนเจาะดอกมะลิ เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของต้นพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย และผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชในบริเวณแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำและปุ๋ยจากพืชที่ปลูก

สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนสลับกับมีฝนตกจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดโรคระบาดได้ง่าย เช่น โรคหวัดในสัตว์ปีก โรคคอบวม และโรคปากและเท้าเปื่อย ในสัตว์ประเภทโคและกระบือ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 23-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยปรับปรุงจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก

ยางพารา ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวัง และป้องกันการระบาด ของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรค ใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งอาจทำให้หน้ากรีดยาง และต้นยางเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-25 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1- 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส

ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 23-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 29 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 25 -29 ส.ค. บริเวณฝั่งตะวันตกของภาคจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตกหนัก โดยจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก

ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกร ไม่ควรปล่อยให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจลุกลามมาสู่ต้นพืชได้

ชาวเรือและชาวประมง ในช่วงวันที่ 25 - 29 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ