พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday November 22, 2017 15:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 140/60

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 22-26 พ.ย.ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-6 องศาเซลเซียส เว้นแต่ภาคเหนือในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 พ.ย. ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า

คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นลงตลอดช่วง และวันที่ 23-28 พ.ย.ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ส่วนชาวเรือในบริเวณอ่าวไทยและอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงเป็นบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 24-28 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยในช่วงวันที่ 24-28 พ.ย.จะมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษาเพื่อไม่ให้ เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ลำไย ในระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนตกน้อย สำหรับลำไยที่อยู่ในระยะใบแก่ชาวสวนควรงดให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น และช่วยเร่งให้มีการสร้างตาดอก รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น มวนลำไย หนอนเจาะกิ่ง เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 22-26 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 27-28 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ไม้ผล ในระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนตกน้อย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะใบแก่ เช่น มะม่วงและลำไย เป็นต้น ชาวสวนควรงดให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น และช่วยเร่งให้มีการสร้างตาดอก รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น ด้วงกรีดใบและเพลี้ยชนิดต่างๆ เป็นต้น

ภาคกลาง

สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 27-28 พ.ย. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อยลงในช่วงฤดูหนาว

สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย.จะมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาคควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษาเพื่อไม่ให้ เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 27-28 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

พื้นที่การเกษตร ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ไม้ผล ในระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีฝนตกน้อย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเพื่อสะสมอาหาร ชาวสวนควรงดให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น และช่วยเร่งให้มีการสร้างตาดอก รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดสวน และใต้ทรงพุ่ม เพื่อให้ดินใต้ทรงพุ่มแห้งเร็วขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงให้ต้นมีความสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรป้องกันกำจัดโรคแมลงที่มีระบาดในระยะนี้ เช่น ด้วงกรีดใบในมะม่วง และเพลี้ยชนิดต่างๆ เป็นต้น

ภาคใต้

สภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 23-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

พื้นที่การเกษตร ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังโคนต้นพืชโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

พืชสวน ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในลองกองเป็นต้น

ชาวเรือและชาวประมง ในช่วงวันที่ 23-28 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนพฤศจิกายน (ในช่วงวันที่ 1-21 พ.ย.) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 100 มม. โดยภาคตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-600 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยภาคตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 25-50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 10-300 มม. โดยบริเวณจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-300 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออกและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่น

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคกลางตอนล่างด้านตะวันตกมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-70 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-300 มม. โดยบริเวณจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์มีค่าสมดุลน้ำสะสมสูงสุด 70-300 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเนื่องจากค่าสมดุลน้ำสะสมส่วนมากมีค่าเป็นลบ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรจัดระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ที่จะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ