พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Monday December 11, 2017 13:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 11 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 148/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค.ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร หลังจากนั้น ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลงอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือละชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาสเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงที่อากาศหนาวเย็น สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลง เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารเพราะอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่

จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. หลังจากนั้น อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวอุณ ห ภูมิต่ำ สุด 10 - 14 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้งและบางช่วงอาจมีลมแรงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร
  • เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับฝนบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31- 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.หลังจากนั้น อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำ สุด 17-21 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับ เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
และด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้น อากาศเย็น กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและบางช่วงมีลมแรงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก โรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร และอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟในพื้นที่เพาะปลูกหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมี คลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 -40 กม./ชม. ทะเลมี คลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค.ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงที่มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกกับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร
  • สำหรับทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างของภาคจะมีฝนตกชุกพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณ
โคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 16-17 ธ.ค.บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็ก

บริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 11-17 ธ.ค. 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-10 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ทางตอนบนของภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 1-300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณฝนสะสม 300-600 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่ทางตอนบนของภาคเหนือมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 1-300 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณฝนสะสม 300-600 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก และภาคกลางด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ทางตอนบนของภาคเหนือมีสมดุลน้ำสะสมต่ำกว่า 40 มม. สำหรับภาคใต้ตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. ส่วนภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-300 มม.เป็นส่วนใหญ่

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณและการกระจายของฝนน้อย ส่วนในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วม และควรจัดระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ อย่าให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราใน พืชสวน และพืชผักชนิดต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ