พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 8 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Friday December 8, 2017 13:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 8 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 147/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 3-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค.ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในระยะนี้บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขัง สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8 -11 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง และมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. ทางตอนบนอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็นอุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง และในช่วงวันที่ 8-11 จะมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้
เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งไม่ควรจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอันตรายต่อการใช้รถใช้ถนน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เกษตรกรควรคลุมพื้นที่เพาะปลูก และบริเวณโคนต้นพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้น

ภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8 -11 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง3-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-12 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นและแห้งกับมีลมแรงเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนและทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อไม่ให้ลมโกรกโรงเรือนป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศ หนาวเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ

และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8 -11 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำ สุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศา เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นและมีลมแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่ได้เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำ ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง โดยปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ไม้ดอก และพืชผัก ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-9 ธ.ค.และ วันที่ 14-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตั้งแต่จ.สงขลาลงไป ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากตั้งแต่จ.ปัตตานีลงไป ในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค.ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สงขลาลงไป:ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ความชื้น สัมพัทธ์ 80-90 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8-9 ธ.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 4 0 - 60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่น ประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้เพิ่มเติม เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผลโรคหน้ากรีดยางในยางพารา และโรคราสีชมพูในลองกองเป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง สำหรับในช่วงวันที่ 8-11 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไปจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 8-14 ธ.ค. 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-7 ธ.ค.) บริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดไม่มีรายงานฝนตก เว้นแต่จังหวัดศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ที่มีรายงานฝนตก โดยมีปริมาณฝนสะสมไม่เกิน 10 มม. สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนไม่มีรายงานฝนตก สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 100-300 มม. ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-200 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก และภาคกลางด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-10)-(-30) มม. สำหรับภาคใต้ตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม 20-300 มม. ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 100-400 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณและการกระจายของฝนน้อย ส่วนในช่วง 7 วันข้างหน้าประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรจัดระบบระบายน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้พืชผลเสียหายและผลผลิตด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ