พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday December 13, 2017 15:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 149/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค.ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่งส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งสำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงทำให้มีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-16 ธ.ค.อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 4-14 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค.อากาศเย็นถึงหนาวอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียสกับมีน้ำค้างแข็ง บางพื้นที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป โดยทางตอนบนของภาคจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าทางตอนล่างของภาค ไม้ผลที่อยู่ในระยะเตรียมก่อนแตกตาดอก เช่น ลิ้นจี่และลำไย
เกษตรกรควรงดให้น้ำ รอจนกว่ามีอากาศที่หนาวเย็นยาวนานและเพียงพอพืชก็สามารถแตกตาดอกได้ และเมื่อเห็นดอกชัดเจนและเพียงพอแล้วจึงค่อยให้น้ำ โดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณ
  • ในช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค. จะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณ ยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค.อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้ในบางช่วงอาจมีลมแรงทำให้น้ำระเหยได้มากเกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และบริเวณโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศ หนาวเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ

และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 3-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำ สุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นและมีลมแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน
จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำ ที่ได้เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำ ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตรในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในระยะนี้ ปริมาณน้ำระเหยมีมากประกอบกับปริมาณฝนมีน้อยทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืช ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นในดินและรักษาอุณหภูมิดิน
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ1 0 ข อ ง พื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค.ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 -30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับทางตอนกลางและตอนล่างของภาคซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำ ให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงวันที่ 16-19 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่งส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 13-19 ธ.ค. 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-12 ธ.ค.) บริเวณภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 1-150 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนกลางมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก และภาคกลางด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-40 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-150 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองแข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งควรใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ