พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ข่าวทั่วไป Friday December 15, 2017 14:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 15 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 150/60

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 6-8 องศาเซลเซียส กับ มีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส กับ มีลมแรง สำหรับภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย มีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ตลอดช่วง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง สำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงจนมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย อนึ่ง ระยะนี้สภาพอากาสแห้งและบางช่วงอาจมีลมแรงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 13-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค.อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 10-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียส กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กจะมีความต้านทานต่ำกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืนเพราะจะทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงตายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงที่อากาศเย็น สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลงส่งผลให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตช้า และอาหารที่เลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ดังนั้นเกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร และควรให้อาหารในช่วงสายหรือเที่ยงที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น การเจริญเติบโตดีขึ้น
  • ระยะนี้บริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดกับพืชผลทางด้านการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 16-18 ธ.ค.อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง6-8 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 11-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ธ.ค. อากาศหนาว อุณหภูมิจะลดลงอีก 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับในระยะปลายช่วงจะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ทำให้สัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในตอนกลางคืน เพราะจะทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงตายได้ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรระวังและป้องกันโรคที่อาจเกิดจากสภาพอากาศหนาวเย็น
  • เนื่องสภาพอากาศที่แห้งประกอบกับมีลมแรงในบางช่วงทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรจึงควรลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน โดยคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก และในบางช่วงอาจมีลมแรงทำให้น้ำระเหยได้ดี เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตรห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้อากาศแห้งและบางช่วงอาจมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้าเรือน และโรงเก็บพืชผลผลทางการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราเกษตรกรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิทหลังเลิกใช้งาน
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูก พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ในระยะนี้ ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่นใบอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15-16 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • สำหรับในช่วงวันที่17-21 ธ.ค. จะมีฝนตกหนักโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ในช่วงวันที่ 17-21 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-21 ธ.ค. 2560

ปริมาณฝนสะสมเดือนธันวาคม (ในช่วงวันที่ 1-14 ธ.ค.) สำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคกลางตอนล่างมีปริมาณฝนสะสม 5-50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 50-400 มม. โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 200-400 มม.

          ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา สำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. โดยบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคกลางตอนล่างมีปริมาณฝนสะสม 5-          50 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีปริมาณฝนสะสม 1-100 มม. โดยภาคใต้ ตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 25-100 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 15-30 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออก และภาคกลางด้านตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-30) มม. เว้นแต่ภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-70 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และในช่วง 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองแข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นอกจากนี้เกษตรกรควรใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ