พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Monday February 19, 2018 16:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 22/61

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น แต่บริเวณภาคเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-21 ก.พ. ทางตอนบนของภาค: อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-23 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค: มีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-13 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่22-23 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและลมกระโชกแรง อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16 -22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันมาก ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-20 ก.พ. มีอากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่21-23 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำ สุด 9-12 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากในช่วงกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลง ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-21 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่24-25 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกิน ใบและยอดอ่อของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหย และควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 19-21 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งและลมกระโชกแรง และในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตรห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูร้อน ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง
  • ในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-21 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชมทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-23ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง และในช่วงวันที่ 24-25 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20-21 และ 24-25 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-23 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ ในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ พืช สวนและพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบ และยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • แม้ปริมาณฝนจะมีน้อย แต่น้ำในดินยังคงมีอยู่ ประกอบกับบางพื้นที่ บางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผักโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโธร่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืช เสียหาย และตายได้ โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นภายในแปลงปลูก
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณฝนจะมีน้อยเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 19 - 25 ก.พ. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนกุมภาพันธ์ (ในช่วงวันที่ 1-18 กุมภาพันธ์ 2561) บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.เว้นแต่ภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 1 มม. เว้นแต่ภาคใต้ตอนบนมีปริมาณฝนสะสม 1-10 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ สะสม 20-35 มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-20)-(-40) มม. โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-30)-(-40) มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักมากบางแห่ง และมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน สำหรับในช่วงวันที่ 19-20 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนบางแห่งสำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองแข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ