พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ข่าวทั่วไป Wednesday March 21, 2018 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21-27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ออกประกาศวันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ หลังจากนั้นในวันที่ 24-27 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง และมีอุณหภูมิสูงขึ้น สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนล่างหลังจากนั้นในวันที่ 25-27 มี.ค. มีฝนลดลง และคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค.ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-27 มี.ค.อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียสลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • ระยะนี้จะมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืช ไร่ ไม้ผลและพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค.มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 มี.ค.อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำ รักษาความชื้นภายในดินไว้

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 24-27 มี.ค.อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-23 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • เกษตรกรรวมทั้งสัตว์เลี้ยงไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่าขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 25-27 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

ผลกระทบต่อพืช/สัตว์

  • ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ซึ่งปริมาณและการกระจายของฝนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชเกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินนอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในช่วงวันที่ 21-27 มี.ค. 2561

ปริมาณฝนสะสมเดือนมีนาคม (ในช่วงวันที่ 1-20 มีนาคม 2561) บริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.เว้นแต่ในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ตอนกลาง ที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม. ในตอนบนของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออกที่มีปริมาณฝนสะสมสูงสุด 50-100 มม. สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยส่วนมากมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-40 มม.

สมดุลน้ำสะสม บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม (-1)-(-40) มม. เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้านตะวันออกและภาคตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลน้ำสะสม 10-70 มม. สำหรับภาคใต้ส่วนมากมีค่าสมดุลน้ำสะสม(-1)-(-40) มม. เว้นแต่บริเวณจังหวัดตรังและระนองมีค่าสมดุลน้ำสะสม 1-20 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยแม้จะมีฝนตกแต่สมดุลน้ำยังคงมีค่าเป็นลบ ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนฟ้าคะนองในช่วงแรก แต่ปริมาณและการกระจายมีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชเป็นส่วนใหญ่เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม หลังจากนั้นปริมาณฝนจะลดลงในช่วงหลังและมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเนื่องจากฝนที่ตกและหยุดในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ