ลอนดอน, 23 ก.ค. 47 -- พีอาร์นิวส์ไวร์/ เอเชียเน็ท
- กำหนดรายชื่อ 10 ประเทศหลัก ที่ต้องการให้รัฐบาลมีการจัดการโดยด่วน
- มูลค่าการค้าซีดีละเมิดสูงถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญในปี 2546
- ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์สูงเป็นประวัติการณ์ 35% ของซีดีเพลงที่มีขายทั่วโลก
- การขยายตัวของการค้าซีดีละเมิดเริ่มชะลอตัว เนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น
ยอดขายซีดีเถื่อนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.1 ล้านล้านแผ่นต่อปี แต่เนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ทำให้การขยายตัวของการค้าซีดีละเมิดเริ่มชะลอตัวในปีที่ผ่านมา การละเมิดลิขสิทธิ์ในธุรกิจเพลงยังคงมีสัดส่วนถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญ สืบเนื่องมาจากเครือข่ายอาชญากรรม, ความไม่เอาใจใส่ของรัฐบาล และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ที่กล่าวมานั้นคือรายละเอียดคร่าวๆ ที่ปรากฏในรายงานที่จัดทำโดยอุตสาหกรรมเพลงระหว่างประเทศ รายงานดังกล่าวรวมถึงคำเตือนต่อรัฐบาล ประกาศรายชื่อ 10 ประเทศที่มีการละเมิดสูงสุด — 4 ประเทศในเอเชีย 3 ประเทศในละตินอเมริกา และ 3 ประเทศในยุโรป — ซึ่งต้องการให้รัฐบาลมีการจัดการกับการค้าส่งสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์โดยด่วน
ยอดขายซีดีเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกสูงขึ้น 4% ในปี 2546 และจำนวนเฉลี่ยของซีดีเพลงละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 35% ของซีดีที่มีขายทั้งหมด สัดส่วนการการเพิ่มขึ้นของซีดีเพลงละเมิดลิขสิทธิ์นี่มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2543 มีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพียง 1 ใน 5 ของซีดีที่มีขายทั้งหมด ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยังมีเรื่องน่าพอใจที่แนวโน้มการเติบโตของตลาดละเมิดได้ลดต่ำลงในปี 2546 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แสดงให้เห็นว่าความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายของกลุ่มผู้ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์และบางรัฐบาล มีผลสำเร็จที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ปริมาณของกลางซีดีที่และอุปกรณ์ผลิตซีดีที่ยึดได้ก็สูงเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
รายงานการค้าละเมิดลิขสิทธิ์ 2004 ของอุตสาหกรรมดนตรีนี้จัดทำขึ้นโดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (International Federation of the Phonographic Industry - IFPI) ในนามของบริษัทผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงกว่า 1,400 แห่งทั่วโลก รายงานดังกล่าวได้เรียกร้องถึงรัฐบาลต่างๆ ใน 4 ประเด็น
- กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มแข็งและทันสมัย
- การตัดสินโทษการละเมิดที่รุนแรงและส่งผลในการป้องปราม
- กฎข้อบังคับที่ว่าด้วยโรงงานผลิตซีดี
- คำมั่นสัญญาว่าจะปราบปรามอาชญากรละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวด
รายงานดังกล่าวระบุรายชื่อ 10 ประเทศที่มีการละเมิดสูงสุด และรัฐบาลต้องจัดการกับการค้าเพลงละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมากโดยด่วน นอกจากนี้ยังมีการเสนอหลักฐานใหม่ๆ เกี่ยวกับลูกจ้างของรัฐ ฝ่ายตุลาการ และรัฐบาลซึ่งอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า การสอบสวนอย่างเป็นทางการของรัฐสภาบราซิล — ประเทศที่มีระดับการละเมิดระหว่างประเทศเกือบสูงที่สุด — ได้แสดงให้เห็นว่า มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจละเมิดลิขสิทธิ์อย่างกว้างขวาง ทั้งนักการเมือง ผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่ของรัฐ และอื่นๆ อีกนับหมื่น
ประธานสมาพันธ์ IFPI, Jay Berman กล่าวว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาดเพลงทั่วโลก แม้ว่าการเติบโตของการละเมิดจะชะงักลงในปี 2546 แต่การค้าสินค้าละเมิดก็ได้กลายมาเป็นแหล่งเงินของเครือข่ายอาชญากรรม ก่อให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง และสร้างความสูญเสียแก่ภาษีของรัฐหลายร้อยล้านเหรียญ ทำลายวิชาชีพศิลปินและวัฒนธรรมของดนตรี และทำให้ประเทศที่มีการละเมิดสูงๆ ต้องสูญเสียการลงทุนมูลค่านับล้านล้านเหรียญ”
“ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในตอนนี้คือรัฐบาล — โดยเฉพาะใน 10 ประเทศที่รายงานของเราอ้างถึง — ที่จะต้องดำเนินการกับปัญหาอย่างแน่วแน่ ได้แก่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การตัดสินโทษการละเมิดที่รุนแรงและส่งผลในการป้องปราม กฎข้อบังคับที่ว่าด้วยโรงงานผลิตซีดี และ, เหนือสิ่งอื่นใด, ความยึดมั่นในทางการเมืองที่ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง”
รายชื่อ 10 ประเทศหลัก
รายชื่อประเทศหลักในรายงานของ IFPI คือ บราซิล จีน เม็กซิโก ปากีสถาน ปารากวัย รัสเซีย เสปน ไต้หวัน ไทย และยูเครน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ IFPI เห็นว่าขาดการป้องกันและขาดการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และไม่สามารถแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างน่าพอใจ
เมื่อนับตามมูลค่าการละเมิด ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าการละเมิดสูงสุดในรายชื่อ พร้อมทั้งมีขนาดตลาดละเมิดที่ใหญ่ที่สุดด้วย (มูลค่าประมาณ 600 ล้านเหรียญ) และรัสเซีย ซึ่งตลาดละเมิดลิขสิทธิ์มีมูลค่าสูงถึง 330 ล้านเหรียญ รวมทั้งยังเป็นผู้ส่งออกซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ข้ามประเทศไปยังกว่า 30 ประเทศ
เม็กซิโกและบราซิลแม้เพิ่งถูกจัดเข้าสู่กลุ่ม 10 ประเทศละเมิดสูงสุดเมื่อเร็วๆ นี้ แต่อุตสาหกรรมดนตรีของประเทศทั้งสอง รวมทั้งศิลปิน และแรงงานในอุตสาหกรรมดนตรี ต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากธุรกิจการละเมิดลิขสิทธิ์โดยซีดี-อาร์
ปากีสถานเพิ่งเข้าสู่รายชื่อ 10 ประเทศเป็นครั้งแรก โดยใน 3 ปีที่ผ่านมาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกซีดีละเมิดลิขสิทธิ์รายใหญ่ที่สุดในโลก
ปริมาณของกลางซีดีที่และอุปกรณ์ผลิตซีดีที่ยึดได้สูงเป็นประวัติการณ์
ของกลางที่ยึดได้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตซีดีพุ่งสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา ศักยภาพการผลิตของอุปกรณ์ที่ยึดได้นั้นคือ 300 ล้านแผ่น ซึ่งเป็นจำนวนถึง 1 ใน 3 ของปริมาณซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ผลิตทั้งหมดทั่วโลก เทียบได้กับขนาดตลาดซีดีของเยอรมันและฝรั่งเศสรวมกัน ต้องแสดงความขอบคุณต่อการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เข้มแข็งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปริมาณของกลางซีดีที่ยึดได้เพิ่มขึ้นกว่า 10% สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 56 ล้านแผ่น จำนวนของสแตมเปอร์ (Stamper) — เครื่องอัดแผ่นมาสเตอร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ — เพิ่มขึ้นกว่า 12,000 เครื่อง เท่ากับหกเท่าตัวของจำนวนที่ยึดได้เมื่อปีที่ผ่านมา
ขบวนการสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครือข่ายองค์กรอาชญากรรม
รายงานฉบับนี้ยังกล่าวเน้นถึงการดำเนินงานของทีมผู้สืบสวนของ IFPI และสมาชิก ได้แก่
- การสืบสวนที่ยาวนานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยสืบสวนของ IFPI ในเอเธนส์ นำไปสู่การยึดของกลางซีดีได้กว่า 200,000 แผ่น และเครื่องทำสำเนาซีดี 123 เครื่อง รวมถึงสามารถทำลายเครือข่ายของผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในเดือนกันยายน 2546
- ไม่นานก่อนที่จะมีการแถลงรายงานโดยคณะกรรมาธิการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์แห่งรัฐสภาประเทศบราซิล เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนาย ลอ คิม ชอง ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่ต้องสงสัยว่าได้ติดสินบนประธานคณะกรรมาธิการ นายหลุยส์ อันโตนิโอ เดอ เมเดรอส เพื่อให้คุ้มครองธุรกิจของเขา การพบปะกันระหว่างตำรวจกับผู้ต้องสงสัยได้ถูกบันทึกเทปและถ่ายภาพไว้โดยอุปกรณ์ดักฟัง โดยได้รับความร่วมมือจากประธานคณะกรรมาธิการดังกล่าว
- เจ้าหน้าที่ตำรวจของอิตาลีสามารถล้มล้างกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมรายใหญ่ในมืองเนเปิลส์ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเศรษฐกิจ 50 นาย ได้บุกจับห้องทดลองที่ลักลอบทำสำเนาซอฟต์แวร์, ภาพยนตร์ และเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ 6 แห่งในเดือนตุลาคม 2546 สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 9 คน และเครื่องทำสำเนาซีดีถึง 500 เครื่อง
- เจ้าหน้าที่ตำรวจของเม็กซิโกได้มีการปะทะกันอย่างรุนแรงกับแก็งค์อาชญากรในตลาดเตปิโต้ เมืองเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งมีชื่อเสียงไม่ดีเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรม ในการบุกจับกุมดังกล่าวสามารถยึดซีดีได้หลายแสนแผ่น รวมถึงอุปกรณ์การผลิต อาวุธ และยาเสพติด หลังจากการต่อสู้ 4 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 39 คน
- การจับกุมครั้งใหญ่ในเปรู ซึ่งใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 1,000 นาย สามารถยึดแผ่นซีดี-อาร์ ละเมิดลิขสิทธิ์ได้กว่า 1 ล้านแผ่นในตลาดเวโค (Hueco) ในปฏิบัติการครั้งนี้สามารถจับกุมแผงผู้ค้าได้กว่า 400 แผงและจับกุมผู้ต้องหาได้ 10 คน
ร่างงานแถลงข่าวการละเมิดลิขสิทธิ์ 2547
เนื้อความสำคัญ
- ตัวเลขปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้น ตัวเลขการเติบโตของธุรกิจละเมิดลิขสิทธิ์น้อยที่สุดในรอบ 4 ปี (4%) ต้องขอบคุณตัวเลขการจับกุมที่สูงมากเป็นประวัติการณ์
* ยึดซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ได้ 56 ล้านแผ่น — เพิ่มกว่า 10%
* ยึดอุปกรณ์ผลิตซีดีที่มีศักยภาพการผลิตกว่า 300 ล้านแผ่น
* ยึดสแตมเปอร์ (Stamper — เครื่องอัดแผ่นมาสเตอร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์) 12,000 เครื่อง ซึ่งเท่ากับหกเท่าตัวของจำนวนที่ยึดได้เมื่อปีที่ผ่านมา
- อย่างไรก็ตามสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีก็ยังเป็นปัญหาใหญ่เนื่องจาก 35% หรือ 1 ใน 3 ของตลาดเพลงเป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
- การค้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับการละเมิดในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในประเทศที่ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงยังไม่เป็นที่นิยม การค้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สร้างความสูญเสียแก่ตลาดเพลงโดยรวมถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
- IFPI ประกาศรายชื่อ 10 ประเทศที่มีการละเมิดสูงสุด — 4 ประเทศในเอเชีย 3 ประเทศในละตินอเมริกา และ 3 ประเทศในยุโรป — ซึ่งมีการละเมิดสูงสุด และต้องการให้รัฐบาลตกลงจัดการกับการค้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง
- การค้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเป็นแหล่งเงินของเครือข่ายองค์กรอาชญากรรม
- ประโยชน์และโทษต่อรัฐบาล
1. ทางเศรษฐกิจ — สกัดกั้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่ควรได้จากการส้รางสรรค์ของธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา
2. ทางวัฒนธรรม — มีชื่อเสียงในเวทีระหว่างประเทศว่าเป็นผู้คุ้มครองวัฒนธรรมดนตรี มิใช่ผู้ทำลาย
- รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ โดยต้องมีการดำเนินการ 4 ประการ
a) สร้างกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มแข็งและทันสมัย
b) มีกฎข้อบังคับที่ว่าด้วยโรงงานผลิตซีดีเพื่อลบล้างซีดีเถื่อนนับล้าน
c) การตัดสินโทษการละเมิดที่รุนแรงและให้มีผลในทางอาญา
d) คำมั่นสัญญาว่าจะปราบปรามอาชญากรละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเข้มงวด
ตัวเลขสำคัญ
- ยอดขายซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.1 ล้านล้านแผ่นต่อปี
- ตัวเลขการเติบโตของธุรกิจละเมิดลิขสิทธิ์น้อยที่สุดในรอบ 4 ปี (4% จาก 14% ในปี 2545)
- ยึดสินค้าละเมิดได้สูงสุด (56 ล้านแผ่น — จาก 13 ล้านในปี 2544 และ 50 ล้านในปี 2545) ส่วนใหญ่จะยึดได้จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกา
- ยึดสแตมเปอร์ได้เป็น 6 เท่าของเดิม จำนวนกว่า 12,000 เครื่อง
- การค้าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สร้างความสูญเสียแก่ตลาดเพลงโดยรวมถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สืบเนื่องมาจากเครือข่ายอาชญากรรม, ความไม่เอาใจใส่ของรัฐบาล และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
- จำนวนเฉลี่ยของซีดีเพลงละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 35% ของซีดีที่มีขายทั้งหมด
- สัดส่วนการการเพิ่มขึ้นของซีดีเพลงละเมิดลิขสิทธิ์นี่มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2543 มีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพียง 1 ใน 5 ของซีดีที่มีขายทั้งหมด ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--
--อินโฟเควสท์ (ปป)--