ผลการศึกษาครั้งใหม่ที่เผยแพร่ผ่าน Journal of Hepatology ระบุผู้ป่วยสูงวัยที่เป็นโรคมะเร็งตับตอบสนองต่อการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres ในระดับเดียวกับผู้ป่วยที่อ่อนวัยกว่า

ข่าวต่างประเทศ Friday June 21, 2013 15:55 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

โบโลญญา, อิตาลี--21 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ - คณะผู้เขียนบทความระบุว่าการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสี (Radioembolisation) อาจเป็นวิธีที่ทนทานและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยสูงวัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยอ้างอิงจากการประเมินผู้ป่วย 325 คนที่ศูนย์หลายแห่งโดย ENRY ผลการวิเคราะห์ครั้งใหม่โดยสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือแห่งยุโรปว่าด้วยการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสี Yttrium-90 Resin Microspheres (ENRY) ที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์ผ่านทาง Journal of Hepatology ซึ่งเป็นวารสารที่ผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิของสมาคมศึกษาโรคตับแห่งยุโรป[1] อาจมีข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ป่วยสูงวัยที่เป็นโรคมะเร็งตับระยะเริ่มต้นที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ (โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130620/622581) ผลการวิเคราะห์พบว่า การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres ในผู้ป่วยสูงวัย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) จำนวน 128 คน และในผู้ป่วยที่อ่อนวัยกว่า (อายุต่ำกว่า 70 ปี) จำนวน 197 คน ซึ่งมีอาการป่วยเหมือนกัน ให้ผลการรักษาในระยะยาวเทียบเท่ากัน ศจ.นพ.ริต้า โกลฟิเอรี (Rita Golfieri) ศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาจากแผนกโรคระบบย่อยอาหารและอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโบโลญญา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้เขียนบทความ กล่าวว่า “การค้นพบของเราบ่งชี้ว่า อายุเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ข้อมูลนี้สำคัญมากเพราะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว” ศจ.โกลฟิเอรีกล่าวเสริมว่า “อายุไม่ใช่อุปสรรคในการรักษาผู้ป่วยสูงวัยที่เป็นโรคมะเร็งตับ ถึงกระนั้นแพทย์ก็ต้องพิจารณาเรื่องอายุและความอ่อนแอของร่างกายในการตัดสินใจว่าจะรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีใด” “ตัวอย่างเช่น ผลข้างเคียงหลังการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres ค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือด (TACE) ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยสูงวัยแล้ว การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีเพียงครั้งเดียวอาจยอมรับได้มากกว่าการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดที่ต้องทำหลายต่อหลายครั้ง” “ขณะเดียวกันยา sorafenib ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosine kinase และเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยสูงวัยที่เป็นโรคมะเร็งตับ กลับพบผลข้างเคียงบ่อยขึ้นในการใช้รักษาผู้ป่วยอายุเกิน 75 ปี ดังนั้นอาจต้องมีการปรับขนาดยา” ศจ.โกลฟิเอรีกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งล่าสุดที่มีการอ้างอิงข้อมูลจากการประเมินผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ 325 คนที่ได้รับการรักษาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษา และแพทย์สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ศูนย์ 8 แห่งในเยอรมนี อิตาลี และสเปน โดยได้รับความร่วมมือจากดร.บรูโน ซานโกร (Bruno Sangro) ผู้อำนวยการแผนกโรคตับของ Clinica Universidad de Navarra ในเมืองปามโปลนา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม ENRY เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ตับถูกทำลายอย่างหนักหรือมีอาการตับแข็งอันเป็นผลมาจากอาการเจ็บป่วยต่างๆ อาทิ โรคตับอักเสบและโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น มะเร็งตับเป็นมะเร็ง 1 ใน 10 ชนิดที่พบมากที่สุดในโลก โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเกือบ 750,000 รายต่อปี และเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมากเป็นอันดับสามในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมด[2] โรคมะเร็งตับพบบ่อยที่สุดในพื้นที่ที่วินิจฉัยพบไวรัสตับอักเสบมากที่สุด อย่างในเอเชียแปซิฟิกและยุโรปใต้ โรคมะเร็งตับสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ทั้งแบบเฉือนเนื้อตับส่วนที่เป็นเนื้อร้ายออกหรือปลูกถ่ายตับจากผู้บริจาคที่มีสุขภาพสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การผ่าตัดไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ ซึ่งมีโอกาสมีชีวิตอยู่ต่อไปเพียง 2-3 เดือนไปจนถึงไม่กี่ปี ขึ้นอยู่กับสภาพของตับผู้ป่วยเมื่อได้รับการวินิจฉัยและขอบเขตการลุกลามของมะเร็ง ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการประเมินผู้ป่วยโดยอ้างอิงอายุเป็นหลัก การวิเคราะห์ครั้งใหม่เป็นการเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ 128 คนที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป (ค่าเฉลี่ย 74 ปี) กับผู้ป่วย 197 คนที่อ่อนวัยกว่า (ค่าเฉลี่ย 58 ปี) นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์กลุ่มย่อยในผู้ป่วย 49 คนที่สูงวัยมาก (อายุ 75-87 ปี, ค่าเฉลี่ย 78 ปี) กลุ่มผู้ป่วยสูงวัยและอ่อนวัยกว่ามีลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งตับระยะลุกลาม มีก้อนมะเร็งหลายก้อนในกลีบตับทั้งสองข้าง และมีอาการของโรคตับแข็งเล็กน้อย (Child-Pugh class A) ผู้ป่วยกลุ่มสูงวัยมีขอบเขตการแพร่กระจายของโรคน้อยกว่ามาก มีปริมาตรตับน้อยกว่าทั้งปริมาตรตับโดยรวมและปริมาตรตับที่ต้องทำการอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสี และมีแนวโน้มต่ำกว่าที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในการศึกษานี้ อัตราการรอดชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยสูงวัย (ค่ากลาง 14.5 เดือน) และผู้ป่วยที่อ่อนวัยกว่า (ค่ากลาง 12.8 เดือน) ไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่สูงวัยมาก (อายุ 75 ปีขึ้นไป) ยังไม่มีความแตกต่างมากมายจากกลุ่มผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า (ค่ากลาง 14.9 เดือน เทียบกับ 12.8 เดือน) การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres มีความทนทานเท่ากันในกลุ่มผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ขณะที่ผลข้างเคียงทั่วไปที่เกิดจากการรักษา อาทิ อาการอิดโรย คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน ปวดท้อง มีไข้ และบิลิรูบินสูงขึ้น มีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยถึงปานกลางในระยะเวลาสั้นๆ อาการเหล่านี้แทบไม่มีความรุนแรงเกินระดับ 3 ยกเว้นกรณีหนึ่งซึ่งพบอาการอิดโรยระดับ 3 และอีกสองกรณีที่พบว่ามีบิลิรูบินสูงขึ้นระดับ 4 นอกจากนั้นยังพบการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (เกิดจากการทับถมของไมโครสเฟียร์ในระบบทางเดินอาหาร) ไม่กี่กรณีและมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเหมือนกันในกลุ่มผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุมีแผลในกระเพาะอาหารขั้นรุนแรง (ระดับ 3 ขึ้นไป) น้อยกว่าเกือบสามเท่า (0.8% เทียบกับ 2.7%) เมื่อข้อมูลรวมของ ENRY ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2554 [3] ศจ.ซานโกร กล่าวว่า “เนื่องจาก ENRY ไม่ใช่การศึกษาตามแบบแผนทั่วไป ข้อมูลที่ปรากฏจะต้องนำมาตีความอย่างระมัดระวัง จากการประเมินผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาทางคลินิกเป็นประจำสามารถกล่าวได้ว่า การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres สามารถทำลายเนื้อร้ายได้โดยตรงโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อตับส่วนอื่นๆที่ยังดีอยู่ ซึ่งช่วยให้เราลดภาระในการรักษาโรคและช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เราสามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตสูงสุดได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสภาพตับดีกว่า มีก้อนเนื้องอกน้อยกว่า และไม่มีภาวะการอุดตันในหลอดเลือดดำ” “ตอนนี้สิ่งที่เราสามารถพูดได้โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ของศจ.โกลฟิเอรี คือ การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีในผู้ป่วยสูงวัยได้ผลพอๆกับในผู้ป่วยที่อ่อนวัยกว่า นอกจากนั้นยังมีผลข้างเคียงค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยเหล่านี้แทบไม่มีทางเลือกอื่นในการรักษา” ศจ.ซานโกร กล่าว การรักษาด้วยวิธีอื่นๆที่สามารถยืดอายุผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้คือ การให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือด ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการให้เคมีบำบัดและรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำหลายครั้ง เนื่องจากอาการข้างเคียงหลังการรักษา อีกวิธีหนึ่งคือการรักษาด้วยยา sorafenib ซึ่งผู้ป่วยต้องรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง โดยยานี้อาจมีผลข้างเคียงหลายอย่างซึ่งทำให้ผู้ป่วยกว่า 1 ใน 3 (38%) ต้องหยุดใช้ยา[4] “การอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีอาจมีฤทธิ์เสริมเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาใหม่ๆอย่าง sorafenib” ศจ.ซานโกร กล่าว แพทย์และผู้ป่วยที่สนใจเข้าร่วมการทดลองอุดเส้นเลือดด้วยสารกัมมันตรังสีโดยใช้ SIR-Spheres ในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมซึ่งกำลังดำเนินอยู่ 3 การทดลอง สามารถดูรายละเอียดได้ที่ - การทดลอง SORAMIC ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในยุโรป โดยเป็นการทดลองใช้ SIR-Spheres ร่วมกับยา sorafenib ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เทียบกับการใช้ยา sorafenib เพียงอย่างเดียว (http://www.soramic.de และ http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT01126645) - การทดลอง SIRveNIB ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นการเปรียบเทียบ SIR-Spheres กับยา sorafenib ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (http://www.sirvenib.com และ http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT01135056) - การทดลอง SARAH ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในฝรั่งเศส โดยเป็นการเปรียบเทียบ SIR-Spheres กับยา sorafenib ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (http://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT01482442) อ้างอิง: 1. Golfieri R, Bilbao JI, Carpanese L, et al on behalf of European Network on Radioembolization with Yttrium-90 resin microspheres (ENRY). Comparison of the survival and tolerability of radioembolization in elderly versus younger patients with unresectable hepatocellular carcinoma. Journal of Hepatology 2013; ePub doi: http//dx.doi.org/10.1016/j.jhep.2013.05.025. 2. GLOBOCAN. Liver Cancer Incidence and Mortality Worldwide in 2008. http://globocan.iarc.fr/factsheets/cancers/liver.asp accessed 28 June 2011. 3. Sangro B, Carpanese L, Cianni R et al on behalf of European Network on Radioembolization with yttrium-90 resin microspheres (ENRY). Survival after 90Y resin microsphere radioembolization of hepatocellular carcinoma across BCLC stages: A European evaluation. Hepatology 2011;54:868-878. 4. Llovet J, Ricci S, Mazzaferro V et al for the SHARP Investigators Study Group. Sorafenib in advanced hepatocellular carcinoma. New England Journal of Medicine 2008;359:378-390. 708-EUA-0613 แหล่งข่าว: ENRY Trialists

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ