Hansa 1500 รถยนต์ปี 2492 จาก BOGWARD รถยนต์ตัวถังพอนทูน ต้นแบบความสำเร็จแห่งนวัตกรรมที่ทิ้งห่างคู่แข่ง

ข่าวต่างประเทศ Thursday August 13, 2015 15:33 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สตุ๊ทการ์ต, เยอรมนี--13 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/ อินโฟเควสท์ เมื่อปี 2492 BORGWARD สามารถแซงหน้าเหนือคู่แข่ง ภายหลังจากที่รถรุ่น Hansa 1500 ได้กำหนดมาตรฐานการออกแบบตัวถังรถยนต์ขึ้นมาใหม่ รถเก๋งรุ่นนี้ถือเป็นการพัฒนารถยนต์ขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรกของบริษัทรถยนต์จากเมืองเบรเมนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการจุดประกายการออกแบบตัวถังสไตล์นี้ หรือที่เรียกว่ารูปทรงพอนทูนให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นรถรุ่นที่รู้จักในเยอรมนีและพื้นที่อื่นๆในยุโรปมาก่อน คู่แข่งรายอื่นๆต่างพากันออกแบบรถยนต์รุ่นหลังสงครามโลกให้คล้ายกับรถยนต์ที่ผลิตในช่วงก่อนสงคราม แต่ BORGWARD กล้าที่จะทิ้งอดีตแบบไม่เหลือเยื่อใย จากนั้นมา อุปกรณ์อย่างบังโคลนหุ้มล้อ และไฟรถแบบแยกชิ้นก็ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง บรรดาคู่แข่งของบริษัทพากันตกชั้นอย่างไม่ทันตั้งตัวและดิ้นรนอย่างหนักเพื่อที่จะไล่ตามให้ทัน การออกแบบตัวถังรถใหม่จากโรงงาน BORGWARD จึงเป็นการกดดันอุตสาหกรรมรถยนต์ยุโรปอย่างหนัก เพื่อที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องออกมาทำอะไรสักอย่าง ซึ่งเป็นที่มาของรถรุ่น Fiat 1500 (2493), Ford 12 M (2495), Opel Olympia (2496) และ Mercedes-Benz 180 (2496) รถยนต์รุ่นหลังๆจากผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งเคยมองข้ามกระแสการออกแบบตัวถังรถรูปแบบใหม่นี้ไป คงไม่มีโอกาสที่เราจะล่วงรู้ว่า Carl F. W. Borgward เกิดไอเดียการออกแบบรูปใหม่นี้ได้อย่างไร ในบทสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง เขาระบุว่าได้รับแรงบันดาลใจจากบังโคลนล้อหน้าแบบผสมผสานของ Hanomag รุ่น "Kommissbrot" รถขนาดเล็กปี 2470 ซึ่งติดตั้งเครื่องยนต์อยู่ด้านหลัง ส่วนแหล่งอื่นๆ คาดว่า Borgward เคยเห็นรูปถ่ายชุดแรกๆของ Kaiser K 100 รุ่นใหม่ และรุ่น K 101 ขณะที่เป็นเชลยศึกของสหรัฐตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2488 0oถึงเดือนมีนาคม 2489 รถยนต์ 4 ประตูสองรุ่นดังกล่าวนี้ได้จุดประกายการออกแบบตัวถังรูปทรงพอนทูนที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในสหรัฐ แต่ถึง Carl F. W. Borgward จะได้ไอเดียนี้มาจากที่ใด เขาก็ประทับใจเป็นอย่างยิ่งกับประโยชน์ต่างๆนานาที่ลูกค้าได้รับจากดีไซน์รูปแบบใหม่อย่างเห็นได้ชัด ตัวถังรูปทรงพอนทูนชนะขาดลอยในแง่ของการใช้พื้นที่ ส่งผลดีต่อผู้โดยสารและพื้นที่ท้ายรถ ด้วยการลดพื้นผิวด้านหน้าโดยไม่กินพื้นที่ด้านใน ตัวถังรูปทรงพอนทูนทำให้ระบบแอโรไดนามิกส์และประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงดีขึ้นหลายเท่า และนั่นคือสิ่งที่ BORGWARD ให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยการมุ่งเน้นแอโรไดนามิกส์ตั้งแต่แรก นอกจากนี้ ตัวถังพอนทูนยังเปิดทางให้เหล่านักออกแบบได้สัมผัสประการณ์ใหม่หมดจดในการเผยความสง่างามของนวัตกรรมยานยนต์ การออกแบบในสไตล์พอนทูนยังรู้จักในชื่อการออกแบบกล่อง 3 ใบ (Three-box design) เนื่องจากรถยนต์ 1 คันจะแบ่ง "กล่อง" เอาไว้สำหรับเครื่องยนต์ ห้องโดยสาร และท้ายรถนั่นเอง ขณะนักออกแบบรถยนต์อเมริกันรายอื่นๆเรียกการออกแบบสไตล์ใหม่นี้ว่า การออกแบบ "เรือนกระจก" (Greenhouse design) สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากนี้ของบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเบรเมนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ รถยนต์ Hansa 1500 ไม่เพียงแค่เป็นรถคันแรกที่สร้างขึ้นภายหลังสงคราม แต่ยังเป็นรถที่มีรูปลักษณ์แบบใหม่อีกด้วย รถยนต์รุ่นนี้มีรูปแบบที่เรียบง่ายโดยการผสมผสานระหว่างสุนทรียภาพเข้ากับการใช้งานเชิงอรรถประโยชน์สำหรับผู้ขับ และปราศจากการตกแต่งแบบสถาปัตยกรรมแบบบาโรก นอกจากนี้ Hansa 1500 ยังเป็นรถยนต์รุ่นบุกเบิกที่มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ไฟส่องทิศทางหน้ารถซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกับมาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานแรกสำหรับรถยนต์ในเยอรมนี ความเข้มงวดในด้านการพัฒนาตัวถังรูปทรงพอนทูนแบบใหม่ของบริษัทที่ Carl F. W. Borgward เป็นเจ้าของนั้น เห็นได้จากรถรุ่น Lloyd 300 ซึ่งปรากฎขึ้นภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีหลังจากที่มีการเปิดตัวรถรุ่น Hansa 1500 และมีการถ่ายทอดรูปแบบการออกแบบกล่อง 3 ใบไปยังรถรุ่นที่มีความกะทัดรัดมากขึ้น การออกแบบจึงมีความน่าสนใจในด้านนี้ด้วยเช่นกัน ขั้นตอนต่อไปในการพัฒนา Hansa 1500 คือ รถยนต์ที่มีรูปทรงพอนทูนแบบ 2 ประตู ซึ่งถือเป็นรถที่สวยงามที่สุดในโลกตราบจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็คือรถยนต์รุ่น BORGWARD Isabella ข้อมูลอ้างอิง: สามารถเข้าชมรูปภาพได้ที่ AP Images (http://www.apimages.com) และ http://www.presseportal.de/nr/115998/bild/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: BORGWARD Group AG Kriegsbergstrasse 11 70174 Stuttgart, Germany เจอร์เกน ชราเมก หัวหน้าฝ่ายสื่อสารผลิตภัณฑ์ โทร +49-711-7941851043 อีเมล media@borgward.com เว็บไซต์ http://www.borgward.com แหล่งข่าว: BORGWARD Group AG

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ