King Abdullah Economic City เปิดตัวมูลนิธิ Red Sea Foundation มุ่งส่งเสริมการค้าในภูมิภาคทะเลแดง

ข่าวต่างประเทศ Friday January 22, 2016 12:16 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ดาวอส,สวิตเซอร์แลนด์--22 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ - ภูมิภาคทะเลแดงเป็นตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก - จำนวนประชากรในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นจาก 620 ล้านคน เป็น 1.3 พันล้านคนภายในปี 2593 - องค์กรไม่แสวงผลกำไรแห่งนี้จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและให้คำแนะนำด้านนโยบาย ฟาฮ์ด อัล ราชีด กรรมการผู้จัดการและกรุ๊ปซีอีโอของ King Abdullah Economic City กล่าวว่า การพัฒนากรอบการทำงานเพื่อส่งเสริมการค้าในภูมิภาคทะเลแดง คือสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาตลาดเกิดใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อย่างยั่งยืน (รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160121/324494 ) ในอีเวนต์พิเศษระหว่างการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส คุณอัล ราชีด ได้ประกาศจัดตั้งมูลนิธิ Red Sea Foundation องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ให้คำแนะนำด้านนโยบาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพของภูมิภาค พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านนโยบายที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในภูมิภาค มูลนิธินี้จะมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา โดยจะมีคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับโลกซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจกำหนดนโยบาย ผู้นำธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่รับผิดชอบในเรื่องการวิจัย คิดค้น และส่งเสริมคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับนโยบาย "ทะเลแดงเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก และมีบทบาทสำคัญในการพาณิชย์โลกมานานนับพันปี แต่ทุกวันนี้ ประเทศที่อยู่รอบๆทะเลแดงกลับได้ประโยชน์จากจุดนี้เพียงน้อยนิด อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป" คุณอัล ราชีด กล่าว "ที่นี่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดในโลกและโดนเอาเปรียบน้อยที่สุด การก่อตั้งมูลนิธิเพื่อส่งเสริมการค้าจะช่วยยกระดับการไหลเวียนของสินค้าในภูมิภาคทะเลแดง อีกทั้งยังสร้างความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองให้กับภูมิภาค อันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด" องค์การสหประชาชาติระบุว่า จำนวนประชากรของ 20 ประเทศที่ใช้ทะเลแดงเป็นเส้นทางการขนส่งหลัก จะเพิ่มขึ้น 110% จากเดิม 620 ล้านคน เป็น 1.3 พันล้านคนภายในปี 2593 ขณะที่จำนวนคนชนชั้นกลางในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้น 150% จาก 137 ล้านคน เป็น 343 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะผลักดันให้จีดีพีของภูมิภาคเติบโตขึ้นถึง 3 เท่า จาก 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน เป็น 6.1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 ส่วนการค้าคาดว่าจะขยายตัวขึ้นถึง 5 เท่า จากเดิม 8.81 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ ในบรรดาการขนส่งสินค้าทางทะเลทั่วโลกในแต่ละปี จะเป็นการขนส่งสินค้าผ่านทะเลแดงราว 10% ขณะเดียวกัน การขยายขอบเขตไปยังคลองสุเอซจะทำให้รองรับการขนส่งได้มากขึ้นถึง 2 เท่า และทำให้ขนส่งสินค้าได้มากกว่าเดิม โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่ยังคงขาดแคลนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น มีท่าเรือในภูมิภาคเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ได้ ทั้งนี้ ท่าเรือ King Abdullah Port ของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเปิดให้บริการในปี 2558 จะเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในทะเลแดงภายในปี 2560 สำหรับปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประกอบด้วย ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากัน รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆที่ทำให้การค้าข้ามพรมแดนมีต้นทุนสูงขึ้น โดยข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า เงินทุกๆดอลลาร์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าชิ้นหนึ่ง จะมีค่าใช้จ่ายทางการค้าถึง 2.19 ดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงค่าขนส่งและภาษี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการยกระดับความร่วมมือด้านการค้าข้ามพรมแดน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมทั้งเพิ่มบทบาทของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในห่วงโซ่คุณค่าทั่วโลก ซึ่งอาจผลักดันการเติบโตของจีดีพีได้เกือบ 30% เป็น 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ และยกระดับการค้ากว่า 180% เป็น 6.3 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 "จุดมุ่งหมายของมูลนิธิ Red Sea Foundation คือ การส่งเสริมศักยภาพอันมหาศาลของภูมิภาคนี้ ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคทะเลแดง และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ" คุณอัล ราชีด กล่าว "ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ล้วนมีบทบาทสำคัญในความร่วมมือนี้ มูลนิธิ Red Sea Foundation ถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ในการผลักดันเศรษฐกิจโลก" ภูมิภาคทะเลแดงประกอบด้วยประเทศทั้งหมด 20 ประเทศ ทั้งที่มีเขตแดนติดกับทะเลแดงหรือใช้ทะเลแดงเป็นเส้นทางหลักในการขนส่ง ได้แก่ บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย อิรัก จอร์แดน เคนยา มาดากัสการ์ โมซัมบิก รวันดา ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย แทนซาเนีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยูกันดา และเยเมน เกี่ยวกับ King Abdullah Economic City King Abdullah Economic City (KAEC) เป็นเมืองใหม่ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก KAEC ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของประเทศซาอุดิอาระเบีย ครอบคลุมพื้นที่ 181 ล้านตารางเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดของกรุงวอชิงตันดีซี เมืองแห่งนี้ได้รับการพัฒนาโดย Emaar, The Economic City บริษัทร่วมทุนในซาอุดิอาระเบียซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 KAEC สามารถรองรับประชากรได้ถึง 2 ล้านคนภายในปี 2578 โดยมีทั้งท่าเรือ King Abdullah Port เขตที่พักอาศัยริมชายฝั่ง เขตทางรถไฟ Haramain Railway และเขตอุตสาหกรรม Industrial Valley ที่มา: King Abdullah Economic City
แท็ก ซีอีโอ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ