กลุ่มสตรีในกัวเตมาลาสานหนทางแห่งความสำเร็จร่วมกับ “ซากาปา”

ข่าวต่างประเทศ Tuesday March 6, 2018 16:01 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

กัวเตลามา ซิตี--6 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ก่อนที่จะถึงวันสตรีสากล นิโคลี เดรก ช่างภาพหญิงชื่อดัง บันทึกภาพกลุ่มสตรีจักสานในกัวเตมาลา ซึ่งถักทอผลงานประดับขวดสุราระดับพรีเมียมและเป็นหนึ่งในเหล้ารัมที่มีรสชาติเยี่ยมที่สุดในโลก ในภูมิประเทศทุ่งหญ้าเขียวชอุ่มของกัวเตมาลา กลุ่มสตรีท้องถิ่นกว่า 700 คนรวมตัวกันเพื่อถักทอเส้นทางสู่อิสรภาพและเสริมพลังอำนาจของผู้หญิงด้วย "Petate" เครื่องสานพื้นเมืองจากใบปาล์ม สำหรับใช้ประดับตกแต่งขวดบรรจุเหล้ารัมชั้นเลิศระดับโลก รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ https://www.multivu.com/players/uk/8281051-zacapa-women-weaving-way-to-success/ แรงบันดาลใจที่ได้รับจากเรื่องราวของผู้หญิงที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้ และเนื่องในโอกาสวันสตรีสากลที่กำลังจะมาถึง ทำให้ นิโคลี เดรก (Nicolee Drake) ช่างภาพไลฟ์สไตล์และ อินสตาแกรมเมอร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ตัดสินใจเดินทางไปยังกัวเตมาลา เพื่อบันทึกเรื่องราวความก้าวหน้าอันน่าทึ่งของพวกเธอ นิโคลีถ่ายทอดเรื่องราวของกลุ่มสตรีจักสานสายรัดตกแต่งด้านนอกขวดเหล้ารัมซากาปา 23 (Zacapa 23 Rum) และมีโอกาสได้พบกับผู้หญิง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงเหล้ารัมตลอดระยะเวลา 30 ปี อย่าง ลอเรนา วาสเกซ (Lorena Vásquez) ที่ติดอันดับ 1 ใน 25 ผู้หญิงทรงอิทธิพลแห่งปี พ.ศ. 2558 จัดโดยนิตยสารพีเพิล ภาคภาษาสเปน โดยลอเรนายังเป็นหนึ่งในผู้นำสตรีเพียงไม่กี่คนที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางอุตสาหกรรมที่ผู้ชายครอบงำ ขณะเดียวกันก็มีบทบาทในการทำงานเพื่อสนับสนุนกลุ่มเครื่องสาน "Petate" ด้วย ลอเรนา วาสเกซ กล่าวว่า "ในฐานะผู้หญิง เราจะต้องลุกขึ้นสู้ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผลักดันกันเพื่อความก้าวหน้า ถ้าเราไม่เริ่มแล้วใครจะทำ โดยส่วนตัวแล้วอยากเห็นผู้หญิงอีกมากก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุด ดิฉันภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความแตกต่าง ไม่เพียงแค่ในหมู่ผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในชุมชนที่ดิฉันอาศัยอยู่ เพื่อเป็นการตอบแทนสำหรับทุกอย่างที่พวกเราได้รับ" ด้วยความช่วยเหลือของซากาปา ผู้หญิงหัวก้าวหน้าเหล่านี้ได้ละทิ้งบรรทัดฐานทางสังคม ที่มองว่าพวกเธอต้องอยู่กับบ้าน ในขณะที่ผู้เป็นสามีออกไปทำงาน พวกเธอดัดแปลงเครื่องจักสานเพื่อก่อให้เกิดโอกาสในการจ้างงาน ซึ่งรับประกันรายได้อย่างคงที่และนำรายรับที่ได้ไปสนับสนุนครอบครัวอีกทาง เป็นผลให้สถานะทางสังคมของพวกเธอได้รับการยกระดับและทำให้คนรุ่นหลังมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้มากกว่าเมื่อก่อน มากกว่าเรื่องรายได้ การจักสาน "Petate" ยังเปิดโอกาสให้พวกเธอสามารถทำงานอยู่กับบ้านได้ ดังนั้นผู้หญิงเหล่านี้มีเวลาดูแลครอบครัวอย่างสะดวกสบาย (ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมชาวมายัน) หลังใช้เวลากับชุมชนแห่งนี้ในการบันทึกเรื่องราวของพวกเธอผ่านเลนส์กล้อง นิโคลีพบว่า "ผู้หญิงเหล่านี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไม่น่าเชื่อและผู้หญิงจำนวนมากต้องตกเป็นม่ายระหว่างเกิดความขัดแย้งในกัวเตมาลา (พ.ศ. 2503 - 2539) เป็นเรื่องน่าทึ่งที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตและในชีวิตครอบครัวของพวกเธอ ดิฉันชอบจะพบปะกับผู้หญิง อย่าง อะนา (Ana) 1 ในลูกสาว 8 คนของแม่ที่ตกพุ่มม่าย ซึ่งทำให้ต้องส่งเสียเลี้ยงดูตัวเอง ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจหาเงินด้วยการจักสาน "Petate" และมีรายได้ หลังจากนั้นเธอเลือกทุนการศึกษาด้านครุศาสตร์เพื่อเป็นครู และตอนนี้ก็กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายแล้ว "เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และทุก ๆ วัน ผู้หญิงทั่วโลกกำลังผลักดันตัวเองเพื่อความก้าวหน้า และดิฉันได้เห็นส่วนที่ซากาปามีบทบาทโดยตรง ในการจัดหาช่องทางให้กับผู้หญิงเหล่านี้ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง" สำหรับการทอเครื่องจักสาน "Petate" เป็นสิ่งที่สืบทอดและส่งต่อจากแม่สู่ลูกสาว ชาวมายันเชื่อว่าเครื่องจักสานพื้นเมืองนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสวรรค์และโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ จิตวิญญาณและร่างกาย เนื่องจากแถบของเครื่องจักสานดังกล่าวไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด ขณะเดียวกันกระบวนการในการจักสานคล้ายกับขั้นตอนการหมักบ่มเหล้ารัมของซากาปา เนื่องจากต้องใช้เวลา ไม่สามารถรีบเร่งได้ นอกจากนี้ทั้งสองอย่างนี้ยังเป็นผลงานศิลปะ ที่ผ่านการรังสรรค์ด้วยความอดทนและพิถีพิถันของผู้หญิงด้วย สามารถรับชมภาพถ่ายอันสวยงามของนิโคลีที่บันทึกเรื่องราวของผู้หญิงเหล่านี้ได้บนอินสตาแกรม @ZacapaRum *ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลอเรนา ลอเรนาคิดว่างานของเธอเป็นหนึ่งในงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และชื่อเสียงส่วนใหญ่ได้มาจากการหมักบ่มเหล้ารัมให้กับ "ซากาปา" แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับพรีเมียมทุกวันนี้ โดยระหว่างที่เธอทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงเหล้า (Master Blender) เธอได้กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมที่โดดเด่น อย่างเช่น การเลือกสถานที่ตั้งของโรงบ่มซากาปาอันเก่าแก่ บนที่สูง 2,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล (รู้จักกันในชื่อว่า บ้านเหนือเมฆ "House over the Clouds") เนื่องจากความสูงและสภาพอากาศที่เย็นสบายจะช่วยชะลอการหมดอายุ ซึ่งที่โรงบ่มแห่งนี้ ระยะเวลาในการบ่มเหล้าจะแตกต่างกันออกไป โดยซากาปาที่บ่มระหว่าง 6 - 23 ปี ทำให้เหล้าผ่านการหมักอย่างเต็มที่และบ่มในถังไม้ จึงทำให้เหล้ารัมที่ได้มีกลิ่นหอม มีสีอำพันและรสชาติกลมกล่อม **ตามประเพณีดั้งเดิม ผู้ถักเครื่องจักสาน Petate จะจักสานเพียงแค่ตะกร้าหรือหมวกเท่านั้น แต่ในตอนนี้ได้มีการนำเทคนิคดังกล่าวมาประยุคเพื่อผลิตแถบรัดขวดเหล้ารัม โดยได้รับความช่วยเหลือและการฝึกสอนจากซากาปา ดื่มซากาปาอย่างมีความรับผิดชอบ เข้าไปที่: http://www.DRINKiQ.com ที่มา: Zacapa

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ