34 บริษัทชั้นนำร่วมต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ พร้อมให้คำมั่นปกป้องลูกค้าทั่วโลกอย่างเท่าเทียม

ข่าวต่างประเทศ Wednesday April 18, 2018 12:47 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

เรดมอนด์, วอชิงตัน--18 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ เหล่าบริษัทชั้นนำด้านการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตให้คำมั่นว่าจะต่อต้านการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด พร้อมปกป้องลูกค้าทั้งหมดโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ประเทศ หรือแรงจูงใจในการก่อเหตุโจมตี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา บริษัทด้านเทคโนโลยีและการรักษาความปลอดภัยระดับโลกรวม 34 แห่งได้ลงนามในข้อตกลง Cybersecurity Tech Accord โดยบริษัทกลุ่มใหญ่ที่สุดเห็นพ้องต้องกันที่จะปกป้องลูกค้าทุกคนทั่วโลกจากการโจมตีขององค์กรและประเทศต้นทางอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยบริษัททั้ง 34 แห่ง อาทิ ABB, Arm, Cisco, Facebook, HP, HPE, Microsoft Corp., Nokia, Oracle และ Trend Micro คือตัวแทนของผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในระดับโลก Brad Smith ประธานของ Microsoft กล่าวว่า "การโจมตีที่รุนแรงหลายครั้งเมื่อปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่สิ่งที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งสามารถรับมือได้เพียงลำพัง แต่เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกัน ข้อตกลงนี้จะช่วยให้เราก้าวไปสู่ขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการทำงานร่วมกันและปกป้องลูกค้าทั่วโลก" บริษัททั้ง 34 แห่งได้บรรลุหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ ยกระดับการป้องกัน บริษัทเหล่านี้จะยกระดับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ด้วยตระหนักว่าทุกคนสมควรได้รับการปกป้อง บริษัทเหล่านี้จึงให้คำมั่นว่าจะปกป้องลูกค้าทั้งหมดทั่วโลก โดยไม่เกี่ยงแรงจูงใจในการก่อเหตุโจมตีทางออนไลน์ ไม่โจมตี บริษัทเหล่านี้จะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลใดก็ตามในการเปิดฉากโจมตีทางไซเบอร์ รวมทั้งต่อต้านการใช้ในทางที่ผิดหรือการแสวงหาผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ทั้งในส่วนของการพัฒนา การออกแบบ และการจำหน่ายเทคโนโลยีทุกขั้นตอน เสริมสร้างขีดความสามารถ บริษัทเหล่านี้จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับนักพัฒนา ผู้ประกอบธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีของบริษัท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง ซึ่งครอบคลุมถึงการร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆที่บริษัทสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์และบริการของตน ดำเนินงานร่วมกัน บริษัทเหล่านี้จะกระชับสายสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิม พร้อมกับสร้างความร่วมมือครั้งใหม่ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการภายในอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม และในหมู่นักวิจัยด้านความมั่นคง เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเทคนิค ร่วมกันเปิดโปงช่องโหว่ แลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคาม ตลอดจนลดการโจมตีด้วยโค้ดอันตราย (Malicious Code) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริษัทเหล่านี้อาจปฏิบัติตามหลักการบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่แล้ว หรืออาจปฏิบัติตามโดยไม่มีการประกาศต่อสาธารณชน อย่างไรก็ดี ข้อตกลงนี้ถือเป็นการประกาศให้สาธารณชนรับรู้ถึงความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ นอกจากนั้นยังเปิดกว้างในการพิจารณาผู้ร่วมลงนามรายใหม่ๆจากภาคเอกชน โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่หรือมาจากอุตสาหกรรมใด ขอเพียงแค่เป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานสูงในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักการของข้อตกลงอย่างเต็มใจ Kevin Simzer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Trend Micro กล่าวว่า "เราเห็นผลกระทบของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในโลกแห่งความเป็นจริงกันมาแล้ว ในฐานะอุตสาหกรรม เราต้องร่วมมือกันต่อสู้กับอาชญากรไซเบอร์ และยับยั้งการโจมตีที่จะสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้นในอนาคต" ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ก็คือบรรดาธุรกิจและองค์กรทุกขนาด มีการคาดการณ์ว่าการโจมตีทางไซเบอร์จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2565* โดยที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์ได้ทำให้บริษัทขนาดเล็กต้องปิดตัวลง โรงพยาบาลต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป หน่วยงานรัฐต้องหยุดให้บริการ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความติดขัดและความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยอีกมากมาย Carolyn Herzog ที่ปรึกษาทั่วไปของ Arm กล่าวว่า "ข้อตกลงนี้จะช่วยปกป้องอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกว่า 1 ล้านล้านเครื่องที่คาดว่าจะมีการใช้ใน 20 ปีข้างหน้า โดยอาศัยทรัพยากร ความเชี่ยวชาญ และแนวคิดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก เพื่อร่วมกันวางรากฐานที่เชื่อถือได้ให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยี ที่จะได้รับประโยชน์มหาศาลจากโลกที่มีความปลอดภัยในการเชื่อมต่อมากขึ้น" บริษัทที่ร่วมลงนามในข้อตกลงนี้มีแผนที่จะจัดการประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกระหว่างการประชุมด้านความปลอดภัย RSA Conference ที่ซานฟรานซิสโก โดยจะเน้นไปที่การเสริมสร้างขีดความสามารถและการดำเนินงานร่วมกัน และในอนาคตอาจมีการร่วมกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติหรือฟีเจอร์ใหม่ๆสำหรับใช้ในวงกว้าง รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลและสร้างความร่วมมือเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคาม เพื่อให้โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจทุกแห่งหนทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการทำตามสัญญาและมอบเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม บริษัทที่ร่วมลงนามในข้อตกลง ประกอบด้วย - ABB - Bitdefender - Cisco - Arm - BT - Cloudflare - Avast! - CA Technologies - DataStax - Dell - HPE - SAP - DocuSign - Intuit - Stripe - Facebook - Juniper Networks - Symantec - Fastly - LinkedIn - Telefonica - FireEye - Microsoft - Tenable - F-Secure - Nielsen - Trend Micro - GitHub - Nokia - VMware - Guardtime - Oracle - HP Inc. - RSA เกี่ยวกับข้อตกลง Cybersecurity Tech Accord Cybersecurity Tech Accord เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัท 34 แห่งทั่วโลก ที่ให้คำมั่นสัญญาต่อสาธารณชนว่าจะร่วมกันปกป้องและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพลเมืองบนโลกออนไลน์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เสถียรภาพ และความสามารถในการฟื้นตัวในโลกไซเบอร์ รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cybertechaccord.org * ความเสียหายรวมตลอดระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2560-2565 James Moar; Juniper Research: The Future of Cybercrime & Security: Enterprise Threats & Mitigation 2017-2022 (April 25, 2017); https://www.juniperresearch.com/researchstore/innovation-disruption/cybercrime-security/enterprise-threats-mitigation วิดีโอ - https://www.youtube.com/watch?v=ZfCUXq4V6ZY

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ