การค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2554

ข่าวทั่วไป Friday August 26, 2011 15:01 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

1. การส่งออก

การส่งออกเดือนกรกฎาคม 2554 มีมูลค่า 21,521 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.3 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 652,087 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4

การส่งออกเดือนในระยะ 7 เดือนของปี 2554 มีมูลค่า 136,499 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 4,113,842 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9

การส่งออกรายสินค้าเดือนกรกฎาคม มีรายละเอียด ดังนี้

สินค้ากลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวถึงร้อยละ 53.5 ที่สำคัญได้แก่

ข้าว ขยายตัวร้อยละ 110.6 (ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.6)

ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 69.3

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 47.4

สินค้าอาหาร ขยายตัวร้อยละ 30.0

สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ขยายตัวร้อยละ 34.9 ที่สำคัญ เช่น

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 15.6

เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 12.3

ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 15.6

เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 30.1

สิ่งทอ ขยายตัวร้อยละ 9.3

วัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 21.1

อัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 302.0 (ทองคำ ขยายตัวร้อยละ 3,919)

สินค้าที่ส่งออกลดลง

เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ลดลงร้อยละ 3.2 สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ลดลง ร้อยละ 10.4 ตลาดที่ส่งออกลดลงได้แก่ สหรัฐฯ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนไม้ในประเทศและมีราคาสูง รวมทั้งต้องแข่งขันกับจีน มาเลเซีย เวียดนาม และไต้หวัน

ของเล่น ลดลงร้อยละ 10.2 ตลาดที่ส่งออกลดลงได้แก่ สหรัฐฯและญี่ปุ่น เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะไม้และมีราคาสูง การขาดแคลนแรงงาน และ การกีดกันการค้าในตลาดต่างประเทศ

การส่งออกเป็นรายตลาดเดือนกรกฎาคม ขยายตัวทุกกลุ่มตลาด ได้แก่

ตลาดหลัก (Matured Market) ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูงของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 และ 23.0 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.1 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง

ตลาดศักยภาพสูง (Dynamic Market) ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงทุกตลาดถึงร้อยละ 47.0 เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราสูงทุกตลาด โดยเฉพาะ จีน ฮ่องกง อาเซียน 9 อินเดีย และ ไต้หวัน ที่ขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 83.8 , 61.2 , 34.7 , 31.2 และ 24.3 ตามลำดับ

ตลาดศักยภาพรอง (Emerging Market) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เนื่องจากการส่งออกไป รัสเซียและ CIS และแอฟริกา ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 128.7 และ 47.6 ตามลำดับ รวมทั้งทวีปออสเตรเลียที่กลับมาส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.3

2. การนำเข้า

การนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2554 มีมูลค่า 18,723 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในรูปเงินบาทการนำเข้ามีมูลค่า 547,433 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1

การนำเข้าในระยะ 7 เดือนของปี 2554 มีมูลค่า 130,254 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ในรูปเงินบาทการนำเข้ามีมูลค่า 3,973,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3

การนำเข้าเดือนกรกฎาคม มีรายละเอียด ดังนี้

สินค้าที่นำเข้าขยายตัว ได้แก่

สินค้าทุน นำเข้ามูลค่า 4,774 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3

สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้ามูลค่า 3,913 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.7

สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 1,707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8

สินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่

สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป นำเข้ามูลค่า 7,621 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.7

สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.1

อาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ มูลค่า 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.3

3. ดุลการค้า

เดือนกรกฎาคม 2554 ไทยเกินดุลการค้า 2,798 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนในช่วงมกราคม — กรกฎาคม 2554 ไทยยังคงได้ดุลการค้า 6,244 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

4. การค้า/การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากความตกลง FTA (7 ฉบับ คือ AFTA ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้)

การค้าเดือนกรกฎาคม 2554

ไทยส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA มีมูลค่ารวม 11,936 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 2553 ร้อยละ 41.5 เป็นการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ FTA มูลค่า 3,477 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.4 โดยประเทศที่ใช้สิทธิฯ เรียง 3 ลำดับแรก ได้แก่ AFTA จีน และญี่ปุ่น

การนำเข้า มีมูลค่า 10,776 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.3

ภาพรวมได้ดุลการค้า FTA มูลค่า 1,160 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการได้ดุลเดือนแรกของปี 2554

การค้าในระยะ 7 เดือนของปี 2554

ไทยส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA มีมูลค่ารวม 72,947 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.7 เป็นการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษ FTA มีมูลค่า 23,925 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.5 คู่ค้าที่มีการใช้สิทธิสูงสุดสามอันดับแรก คือ AFTA จีน และญี่ปุ่น ส่วนอัตราการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษที่มีการขยายตัวสูงขึ้นมาก คือ FTA เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 190.6 รองลงมา คือ FTA อินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.7

การนำเข้า มีมูลค่า 75,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.1

ภาพรวมขาดดุลการค้า FTA มูลค่า 2,453 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

5. การค้าชายแดน (มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา)

การค้าชายแดนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการส่งออก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การค้าเดือนกรกฎาคม 2554

การค้ารวม มีมูลค่า 77,945 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 โดยค้ากับมาเลเซียสูงสุดมีมูลค่า 50,930 ล้านบาท

การส่งออก มีมูลค่า 49,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 โดยส่งออกไป มาเลเซียสูงสุดมูลค่า 33,678 ล้านบาท

การนำเข้า มีมูลค่า 28,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 โดยนำเข้าจากมาเลเซียสุดมูลค่า 17,252 ล้านบาท

ไทยได้ดุลจากการค้าชายแดนคิดเป็นมูลค่า 20,906 ล้านบาท โดยได้ดุลจากมาเลเซียสูงสุดมูลค่า 16,426 ล้านบาท

การค้าในระยะ 7 เดือนของปี 2554

การค้ารวม มีมูลค่ารวม 524,109 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 โดยมีมูลค่าการค้ากับประเทศมาเลเซียมากเป็นอันดับหนึ่ง 336,883 ล้านบาท

การส่งออก มีมูลค่า 339,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 โดยมีมูลค่าการส่งออกไปประเทศมาเลเซีย มากเป็นอันดับหนึ่ง 225,023 ล้านบาท

การนำเข้า มีมูลค่า 184,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 โดยมีมูลค่าการนำเข้าจากมาเลเซียมากเป็นอันดับหนึ่ง 111,859 ล้านบาท

ไทยได้ดุลมูลค่า 155,850 ล้านบาท โดยได้ดุลการค้ากับมาเลเซียมากเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 113,164 ล้านบาท

6. การค้าสินค้าเกษตรสำคัญ 22 รายการภายใต้ ASEAN

การค้าเดือนกรกฎาคม 2554

การนำเข้า มีมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 198.1 สินค้านำเข้ามูลค่าสูง ได้แก่ เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

การส่งออก มีมูลค่า 280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 สินค้าส่งออกมูลค่าสูงได้แก่ น้ำตาล ข้าว น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง

ไทยได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรสำคัญ 22 รายการจาก ASEAN มูลค่า 239 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ