ทิศทางเศรษฐกิจมาเลเซีย

ข่าวทั่วไป Thursday June 27, 2013 14:13 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกในปี ๒๐๑๓ รัฐบาลมาเลเซียวางเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ ๖ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการลงทุนเอกชนในอัตราร้อยละ ๑๐.๒ ภาคการบริโภคร้อยละ ๖.๓ และภาคการส่งออกร้อยละ ๖.๗ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะยังคงเติบโตอยางต่อเนื่องร้อยละ ๖.๗ และภาคบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๓

นอกจากนี้ รัฐบาลมาเลเซียยังใช้นโยบาย 1Malaysia ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการตั้งเป้าหมายสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการกำหนดโครงการปฏิรูปภาครัฐ และโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย 1Malaysia ทั้งนี้ การดำเนินการด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจของมาเลเซียได้กำหนดไว้ในแผนประเทศ (Malaysia Plan) ฉบับที่ ๑๐ และฉบับที่ ๑๑ โดยมีการกำหนดความเร่งด่วนในการพัฒนาทั้ง ๖ ด้าน (The Six National Key Result Areas - NKRA) ได้แก่ ๑) การลดอาชญากรรม ๒) การต่อต้านการทุจริต ๓) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ๔) การยกระดับความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อย ๕) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ห่างไกล และ ๖) การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมือง และการกำหนดตนแบบเศรษฐกิจใหม (New Economic Model) ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีให้เพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า (คำนวนจากปีฐาน ปี ๒๐๑๐ จาก ๗,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปี เป็น ๑๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ตอคนต่อปี ในปี ๒๐๒๐) โดยใช้หลักการการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ ๕ ด้าน

๑.การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

  • กระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน โดยการลดอัตราภาษีเงินบุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงเพิ่มอัตราการลดหย่อนภาษี
  • กระตุ้นการลงทุนโดยภาคเอกชน โดยการใหความช่วยเหลือด้านการตลาดแก่ธุรกิจส่งออกSMEs ปรับปรุงและพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และการดึงดูดการลงทุนจากตางชาติ
  • มุ่งสูการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

๒. การเร่งเปิดเสรีทางการบริการ

  • เร่งการเปิดเสรีการบริการสาขาที่สำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว การบริการสุขภาพ การขนส่ง การบริการทางวิชาชีพ การค้าส่งและค้าปลีก และให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการประชาสัมพันธ์ภาคการบริการในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในสาขาการบริการสุขภาพ และการศึกษา
  • ส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันให้แก่บริษัทท้องถิ่น มีการพัฒนาทางเทคโนโลยี และสนับสนุนให้มีการลงทุนในต่างประเทศ และมีการหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
  • ศึกษาอุปสรรคในการเปิดเสรีการบริการ สนับสนุนให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสม และสนับสนุนนโยบายการค้าอย่างยุติธรรม (Fair Trade Policy)

๓.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยท้องถิ่นเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อดึงดูดนักศึกษาและอาจารย์จากตางชาติ
  • ปรับหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐและสถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานเดียวกัน

๔.การเสริมสร้างความเข็มแข็งด้านการบริหารจัดการนโยบายการคลัง

  • เพิ่มรายได้ภาครัฐ โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและการกำกับดูแลภาษี ทบทวนมาตราการภาษีให้มีความยืดหยุ่น และมีการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services Tax j GST)
  • มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้จ่ายภาครัฐ โดยมีการตรวจสอบโครงการภาครัฐตางๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและโครงการที่ไม่จำเป็น
  • ให้ความสำคัญกับโครงการที่จะส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจ
  • เน้นความโปรงใสในระบบการจัดซื้อจัดจาง

๕.การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการให้บริการถึงกลุ่มเป้าหมาย

  • กำหนดระยะเวลาในการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่แนนอน รวมถึงการให้ผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ
  • พัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวของกับการลงทุน เพื่อให้มีการบริการที่สะดวกขึ้น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย ๖ ด้าน

๑.การกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศของภาคเอกชน โดยมีแนวคิดวาภาคเอกชนคือกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนทางด้านนโยบายและวัตถุดิบ

๒.การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ภาครัฐมีการส่งเสริมภาคเอกชนโดยการตั้งกองทุนเพื่อกูยืมสำหรับเอกชน มูลค่า ๑,๐๐๐ ล้านริงกิต (ประมาณ ๙,๘๗๐ ลานบาท)

๓.การพัฒนายุทธศาสตรที่สงผลในวงกวาง รัฐบาลมาเลเซียส่งเสริมโครงการที่จะส่งผลในวงกวาง เช่น โครงการศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur International Financial District j KLIFD) มูลค่า ๒๖,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ

๔.การกระตุ้นตลาดทุน โดยการส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐที่ลงทุนถือหุนบริษัทเอกชน (Government j Linked Investment Companies) พิจารณากระจายหุ้นที่ถืออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และอนุญาตให้สามารถเขาไปลงทุนถือหุ้นในต่างประเทศได

๕.การพัฒนาตลาดทุนอิสลาม โดยตลาดหลักทรัพยจะเปิดโอกาสใหแก่บริษัทต่างชาติและบริษัทที่มีลักษณะขัดต่อหลักซาริอะฮเขามาจดทะเบียนได

๖.การกระตุ้นอุตสาหกรรมการรวมทุน ทั้งนี้ รัฐบาลคาดหวังว่าการรวมทุนจะเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนที่วางไว้ โดยจะเน้นการร่วมทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และอุตสาหกรรมเชิงสรางสรรค (Creative industry)

ประเด็นท้าทายการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซียในอนาคต

๑.การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะยาว อาทิ ปัจจุบันไทยและอินโดนีเซียมีการผลิตปาลมน้ำมันและยางพารามากกว่ามาเลเซีย การเคลื่อนที่ของการลงทุนจากต่างชาติ ตันทุนการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น อัตราการว่างงานสูง คุณภาพของทุนมนุษย์ และการสูญเสียแรงงานเชี่ยวชาญ

๒.แนวโน้มในอนาคต อาทิ การบูรณาการทางนโยบายระหว่างภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ การขาดการติดตามการดำเนินนโยบายและประเมินผล การเสริมสร้างความแข็งแกร่งภายในประเทศ และกับดักทางเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆ

----------------------------------

ข้อมูลจาก Malaysia Economic Outlook: Strategies, Priorities and Challenges โดย Dr. Michael Yeoh

ส่วนบริหารงานทวิภาคี/สำนักอาเซียน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

มิถุนายน ๒๕๕๖

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ