ความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีเดือนกุมภาพันธ์ 2553 (กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับอินเดีย)

ข่าวทั่วไป Tuesday February 23, 2010 15:48 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับอินเดีย

Framework Agreement for Establishing Free Trade Area between

the Republic of India and the Kingdom of Thailand

ความเป็นมา/การดำเนินการ

ความเป็นมา

  • พ.ย. 2001: จัดตั้งคณะเจรจาร่วมไทย-อินเดีย (Joint Negotiating Group: JNG) เพื่อจัดทำกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (Framework Agreement) ซึ่งสามารถสรุปผลในเดือนกันยายน 2003

9 ต.ค. 2003: ลงนามกรอบความตกลงฯ เพื่อจัดตั้ง FTA

กรอบการเจรจา

  • ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 3 ส่วน

การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า:

  • ลดและยกเลิกภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest Scheme: EHS) 82 รายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2004 และลดภาษีเป็น 0% ในวันที่ 1 ก.ย. 2006 ครอบคลุมสินค้า เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ลำไย อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณี ส่วนประกอบเครื่องยนต์ พัดลม ตู้เย็น เป็นต้น
  • ลด/ยกเลิกภาษีสินค้านอกเหนือจาก EHS ภายในปี 2010 โดยแบ่งการลด/ยกเลิกภาษีสินค้าเป็น 2 ระยะคือ สินค้าทั่วไป (Normal Track) และสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track)

การค้าบริการและการลงทุน: กำหนดให้เจรจาจัดทำความตกลงเปิดเสรีการค้าบริการตั้งแต่ ม.ค. 2004-ม.ค. 2006 ก่อนที่จะเจรจาเปิดเสรีในสาขาที่ความพร้อมต่อไป

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การท่องเที่ยว การก่อสร้าง การสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเงินและการธนาคาร เป็นต้น

กลไกการเจรจา

  • ตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าเสรีไทย-อินเดีย (India-Thailand Trade Negotiating Committee: TNC) และคณะทำงาน (Working Group) กลุ่มต่างๆ เพื่อเจรจารายละเอียดทางเทคนิคเฉพาะด้าน

แผนการเจรจา

  • เร่งเจรจาการเปิดเสรีสินค้าให้แล้วเสร็จเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ภายในปี 2006
  • เจรจาความตกลงการค้าบริการและการลงทุนให้แล้วเสร็จภายในปี 2006
สถานะล่าสุด

อินเดียเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการเจรจาเขตการค้าเสรี (TNC) ไทย-อินเดีย ครั้งที่17 ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2008

  • ไทยและอินเดียหาข้อสรุปการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าในเบื้องต้นได้แล้ว โดยจะแบ่งการลดภาษีสินค้าออกเป็นกลุ่มลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) และกลุ่มลดภาษีสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) และจะมีสินค้าบางส่วนที่จะยังไม่นำมาลดภาษี (Exclusion List: EL)
  • กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าตกลงใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก(Change in Tariff Sub-Heading: CTSH) ควบคู่กับสัดส่วนมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (Local Content) ร้อยละ 35 เป็นเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้า และมีการจัดทำกฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) อีกจำนวนหนึ่ง

การดำเนินการขั้นต่อไป

1) สรุปผลการเจรจาการค้าสินค้าส่วนที่เหลือ ซึ่งใกล้บรรลุข้อตกลงแล้ว แต่ต้องรอการยืนยันจากอินเดียในเรื่องการลดภาษีที่ได้ตกลงกันไปแล้ว (อินเดียขอให้ไทยลดภาษีสินค้าบางรายการใน Sensitive List ลงอีก)

2) ตรวจทานร่างความตกลงการค้าสินค้าและเอกสารแนบท้าย

3) สำหรับการค้าบริการและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงในเรื่องดังกล่าว

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaifta.com (ไทย-อินเดีย)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ